วันที่ 4 มีนาคม 2565 "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมข้อมูลของ 2 โครงการมาฝากบรรดาผู้ปกครองที่มีลูก-บุตรหลาน โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยากันได้ ซึ่งทั้ง 2 โครงการประกอบไปด้วย
1. เงินสงเคราะห์บุตร ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
2. เงินอุดหนุนบุตร หรือ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำหรับทั้ง 2 โครงการจะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยเงินสงเคราะห์บุตรนั้นจะได้เดือนละ 800 บาท ส่วนเงินอุดหนุนบุตรนั้นจะได้เดือนละ 600 บาท ทั้งนี้ผู้ปกครองที่ต้องการสมัครหรือลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์การช่วยเหลือดังกล่าว สามารถตรวจสอบข้อมูล หลักเกณฑ์ พร้อมทั้งเงื่อนไขต่างๆได้ดังต่อไปนี้
เงินสงเคราะห์บุตร สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
1.ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
2.จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
3.ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
4.อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
2.กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
3.กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
3.1 สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
4.กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
4.1 สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
4.2 สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
6.กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
7.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
8.เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
1.ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
2.เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
3.สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
4.พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
สถานที่ยื่นเรื่อง
เงินอุดหนุนบุตร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน
เอกสารประกอบการลงทะเบียน
1.แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
2.แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
3.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
4.สูติบัตรเด็กแรกเกิด
5.สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (กรุงไทย ออมสิน หรือ ธกส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
6.สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์)
7.ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนในครัวเรือนที่มีรายได้ประจำ
8.สำเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตำแหน่ง หรือเอกสารอื่นใด ที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
สถานที่ลงทะเบียน
ช่องทางตรวจสอบสิทธิการลงทะเบียน