ทำความรู้จัก “ซากโควิด” คืออะไร แพร่เชื้อ ก่อโรค ติดโควิดซ้ำได้ไหม

28 มี.ค. 2565 | 04:46 น.
อัปเดตล่าสุด :28 มี.ค. 2565 | 12:00 น.

ทำความรู้จัก “ซากโควิด” คืออะไร สามารถแพร่เชื้อ ท่ากับเป็นการตรวจพบเชื้อซ้ำในผู้ป่วยรายเดิม ก่อให้เกิดโรค เเละสามารถติดโควิดซ้ำได้หรือไม่

จากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แจ้งข่าวการติดโควิดครั้งที่ 2 (Reinfection) ภายใน 1 เดือน โดยแพทย์ระบุว่าหมายถึงปริมาณเชื้อมาก วินิจฉัยว่าเป็นการติดโควิด (reinfection) อีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่ซากเชื้อจากการเป็นโควิดครั้งก่อนว่า ไม่ใช่ "ซากโควิด" จากการป่วยครั้งแรก

วันนี้จะพามาทำความรู้จัก ซากโควิด ว่าคืออะไร สามารถแพร่เชื้อและก่อให้เกิดโรคได้หรือไม่ เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ประชาชนหายข้อสงสัย

“ซากโควิด” คืออะไร?

  • จุลชีพที่ถูกร่างกายทำลายจนหมดฤทธิ์แล้ว เมื่อผู้หายป่วยจากโรคโควิด ตรวจเชื้อโดยการหาสารพันธุกรรม
  • บางรายอาจพบสารพันธุกรรมของจุลชีพได้ แต่สารพันธุกรรมของจุลชีพนั้น หากนำมาแยกเพาะเชื้อจะไม่สามารถเพาะเชื้อต่อไปได้
  • ผู้ที่พบซากเชื้อในร่างกายจึงไม่สามารถแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่นได้
  • ผู้ป่วยโรคโควิด ที่ได้รับการรักษาครบตามระยะเวลาที่กำหนดและหายป่วยแล้ว หากตรวจหาเชื้อด้วยการสวอปทางโพรงจมูก (Nasopharyngeal swab) อาจจะพบเชื้อ SARS-CoV-2 ที่เป็นเชื้อก่อโรคโควิดได้ แต่เชื้อ ที่พบจะถูกจัดเป็นเชื้อที่ตายแล้ว หรือเป็น “ซากเชื้อ” ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อไปยังคนอื่น ๆ ได้อีก
  • งานวิจัยในต่างประเทศพบว่า เมื่อหายป่วยจากโรคโควิด 19 แล้ว เชื้อไวรัสจะยังคงอยู่ในร่างกายได้นานถึง 30 วัน หากมีการตรวจในระยะเวลาดังกล่าวจึงอาจพบซากเชื้อได้
  • ผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด แล้ว จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่อไปอีกประมาณ 3-6 เดือน
  • ผู้ที่เคยตรวจพบซากเชื้อโควิด จึงสามารถเป็นโรคโควิด ซ้ำได้จากการติดเชื้อซ้ำใหม่อีกครั้ง หรือติดจากเชื้อกลายพันธุ์ในช่วงที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงหรือภูมิคุ้มกันไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ทำความรู้จัก “ซากโควิด” คืออะไร แพร่เชื้อ ก่อโรค ติดโควิดซ้ำได้ไหม