ติดโควิดซ้ำ "โอมิครอน" มากกว่า "เดลตา" กี่เท่า ติดใน 1 เดือนเป็นไปได้ไหม ?

07 เม.ย. 2565 | 03:30 น.
อัปเดตล่าสุด :07 เม.ย. 2565 | 10:33 น.

หลายคนมีความสงสัยว่า ถ้าติดโควิดซ้ำ "โอมิครอน" มากกว่า "เดลตา" กี่เท่า เเล้วจะติดซ้ำภายในระยะเวลา 1 เดือนเป็นไปได้ไหม ? เช็คเลย

ติดโควิดซ้ำ เป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่? สาเหตุมาจากอะไร? " มากกว่า "เดลตา" กี่เท่า ติดซ้ำครั้งที่ 2 ภายใน 1 เดือนเป็นไปได้หรือไม่เกิดจากสาเหตุใด? 

น่าจะเป็นอีกคำถามคาใจคนไทยในวันนี้ และเชื่อว่าเป็นคำถามยอดนิยม เพราะปัจจุบันนี้ มีการพบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มเป็นจำนวนมาก 

การติดโควิดซ้ำ 

  • ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ แต่ต่อมาติดเชื้อซ้ำ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง โอมิครอนพบการติดเชื้อซ้ำสูงกว่าเดลต้า 3-6 เท่า
  • เเต่ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค ระบุว่า คนที่เคยติดเชื้อมาแล้วอย่าย่ามใจ ระลอกโอมิครอน มีอัตราติดเชื้อซ้ำได้มากกว่าเดลตาถึง 10 เท่า 

สาเหตุ

  • มักเกิดในช่วงที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับไม่ครบ รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานกว่า 6 เดือน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • เชื้อที่มีการระบาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเดิม
  • ผู้ป่วยลดมาตรการป้องกันตัวและมีพฤติกรรมเสี่ยง

ติดโควิดซ้ำ \"โอมิครอน\" มากกว่า \"เดลตา\" กี่เท่า  ติดใน 1 เดือนเป็นไปได้ไหม ?

 ติดโควิดซ้ำครั้งที่ 2 ภายใน 1 เดือนเป็นไปได้ไหม เกิดจากสาเหตุอะไร 

ก่อนหน้านี้มีนักการเมือง แจ้งติดโควิดเป็นครั้งที่ 2  โดยห่างจากครั้งแรกเพียง 1 เดือน 

 นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ระบุว่า  ได้ ส่วนเหตุผลว่า ทำไมผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิดเพียง 1 เดือน จึงเกิดติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ 

  • ถ้าติดเชื้อครั้งที่ 1 มีปริมาณเชื้อน้อยและอาการไม่รุนแรง อาจจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงนัก เมื่อไปสัมผัสเสี่ยงกับผู้ที่มีปริมาณเชื้อไวรัสมาก จึงอาจเกิดติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ โดยปกติแล้ว ระดับภูมิคุ้มกันควรจะสามารถป้องกันได้อย่างน้อย 3-6 เดือน
  • ติดเชื้อครั้งที่ 2 อาจเกิดจากเป็นไวรัสคนละสายพันธุ์กัน เช่นติดเชื้อครั้งที่ 1 เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1 ของโอมิครอน ต่อมาติดสาย พันธุ์ย่อยที่สอง BA.2 ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่งทำหน้าที่ป้องกันได้ไม่เต็มที่นัก
  • หายดีจากการติดเชื้อครั้งที่ 1 ถ้ามีระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพ อาจเกิดภูมิคุ้มกันขึ้นหลังติดเชื้อครั้งที่ 1 ในระดับไม่มาก หรือลดลงอย่างรวดเร็ว ก็สามารถติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้