นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ได้โพสข้อความลงเฟสบุ๊คถึงปัญหาฝุ่นPM2.5 ว่า ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน แต่การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไม่ใช่เรื่องง่าย มีรายละเอียดมากและต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน กทม.ในฐานะเจ้าบ้าน ต้องมีเอาจริงเอาจังในการเร่งรัด ติดตาม เพื่อให้ได้อากาศที่ดีคืนมาให้คนกรุงเทพฯ
เมื่อค้นหาคำว่า ‘ฝุ่น’ หรือ ‘PM2.5’ เว็บไซต์นโยบาย https://www.chadchart.com/policy จะพบประมาณ 10 นโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิ:[ พยากรณ์ แจ้งเตือน ป้องกันฝุ่น PM2.5 ]ฝุ่น PM2.5 ส่วนหนึ่งเกิดมาจากแหล่งกำเนิดของมลพิษที่ขึ้นกับฤดูกาลและสภาพอากาศ กทม.สามารถพยากรณ์ฝุ่นได้อย่างแม่นยำด้วยการเก็บรวบรวมสถิติข้อมูลต่าง ๆ ของฝุ่น
อาทิ ข้อมูลปรากฏการณ์ inversion ทิศทางการพัดของลม จุดความร้อนจากการเผาในพื้นที่เกษตร และข้อมูลทางกายภาพของเมือง กทม.จะต้องดำเนินการเรื่องฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่พยากรณ์ แจ้งเตือน และป้องกัน ดังนี้
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นที่เหมาะสม เช่น หน้ากากป้องกันฝุ่นพิษ เครื่องฟอกอากาศ ให้กับประชาชนในกลุ่มเสี่ยง
2. ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ นำข้อมูลมาพัฒนาความแม่นยำของการพยากรณ์ โดยทำผ่านการวัดผลจากเครื่องมือวัดฝุ่นที่กระจายอยู่ตามแขวงและย่าน และจัดทีม “นักสืบฝุ่น” ร่วมกับสถาบันการศึกษาวิจัยหาที่มาของฝุ่นให้ชัดเจน
3. พัฒนาจุดการแจ้งเตือนฝุ่นในสถานที่ที่มีประชาชนอยู่หนาแน่นโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่สาธารณะ ป้ายรถเมล์ และสี่แยก
4. ปรับการแจ้งเตือนให้ค่าการแสดงผลเป็นแบบเรียลไทม์เพื่อให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์ฝุ่นอยู่เสมอและสามารถเลี่ยงการดำเนินกิจกรรมกลางแจ้งได้ในช่วงเวลาที่ฝุ่นหนาแน่น[ พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ]
1. พื้นที่เปิด โดย กทม.จะปลูก (ปลูกเองและสนับสนุนให้เอกชนนำกล้าไปปลูก) และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ช่วยดักจับและกรองฝุ่นที่จะเข้ามาในพื้นที่ เช่น ต้นไม้ที่ลักษณะใบมีขนหรือขรุขระ
2. พื้นที่ปิด ผ่านการสนับสนุนการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีกลุ่มเปราะบางและประชาชนหนาแน่น เช่น ห้องเรียน โรงพยาบาล รถสาธารณะ[ ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง]
จากข้อมูลการวัดฝุ่นในสวนสาธารณะหลายแห่งพบว่าปริมาณฝุ่นในพื้นที่ที่มีต้นไม้ล้อมรอบต่ำกว่าพื้นที่ด้านนอก ดังนั้น กทม. จะปลูกต้นไม้ที่เหมาะสมเพิ่มในพื้นที่ที่ผ่านการศึกษาทิศทางการไหลของมลพิษและฝุ่น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีกิจกรรมของประชาชนหนาแน่น เพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการดักจับมลพิษและฝุ่นก่อนถึงประชาชน[ ลดฝุ่นตั้งแต่ต้นตอ ]
1. กวดขันเอาจริงเอาจังกับการตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน ตรวจจับรถควันดำจากต้นตอ เช่น สถานีขนส่ง แพลนต์ปูน ไซต์ก่อสร้าง เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย หรือ ประสานงานเพื่อเพิกถอนใบอนุญาต กับผู้ประกอบการที่ไม่มีการแก้ไขการปล่อยมลพิษให้ได้ตามมาตรฐาน
2. สนับสนุนให้เกิด ecosystem รถพลังงานไฟฟ้า
3. ลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในชั่วโมงเร่งด่วน Low Emission Zone