ลองโควิด (Long Covid) คืออะไร เป็นประเด็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจจากประชาชน เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19)โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) กำลังแพร่ระบาดในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง
"ฐานเศรษฐกิจ" ดำเนินการสืบค้นข้อมูล เพื่อหาคำตอบมาคลายจ้อสงสัย พบว่า
ลองโควิด คือ อาการทางร่างกายและทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจเป็นผลกระทบทางตรงจากร่องรอยของโรค หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อก็ได้ ทั้งนี้ ลักษณะอาการอาจคล้าย หรือแตกต่างกันกับอาการในช่วงที่ติดโควิด-19
อาการของ Long COVID ที่พบบ่อยนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อมูลว่าอาการ Long COVID มีความเป็นไปได้ที่หลากหลายมาก มีทั้งอาการที่คล้ายกับตอนเป็นโควิด-19 และอาการที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันเลย
สำหรับมีลักษณะอาการร่วมที่พบได้บ่อยที่สามารถนำมาสรุป ได้แก่
ส่วนคำถามที่ว่าวัคซีนโควิดช่วยป้องกัน Long COVID ได้หรือไม่นั้น
มีรายงานที่น่าสนใจพบว่า ผู้ป่วยบางส่วนที่มีปัญหาลองโควิดเป็นเวลานาน มีอาการที่ดีขึ้นหลังได้รับการฉีดวัคซีน แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีการคาดการณ์สาเหตุว่าอาจมาจากการตอบสนองต่อการกระตุ้นของวัคซีน ทำให้ภูมิคุ้มกันมีความเปลี่ยนแปลงหรือถูก reset ให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ
นอกจากนี้ การได้รับวัคซีนก่อนได้รับเชื้อ จะช่วยลดโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงด้วย ส่งผลให้โอกาสเกิด Long covid มีน้อยลง หรือหากว่ามี ก็ลดโอกาสที่จะรุนแรงได้
ด้านแนวทางการฟื้นฟูภาวะลองโควิดนั้น เมื่อทราบว่ามีอาการลองโควิดและปรึกษาแพทย์แล้ว ในช่วงที่พักฟื้นรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ต้องเน้นดูแลร่างกายเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจากการอักเสบ เพราะโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ได้แก่
กินอาหารที่ช่วยฟื้นฟูทุก ๆ มื้อ : อาหารโปรตีนมีส่วนช่วยในการซ่อม สร้าง และเสริม เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เราจึงควรกินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่วชนิดต่าง ๆ โดยกินในสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกาย
อย่างไรก็ดี อาจกินอาหารประเภทแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้องหอมมะลิ ขนมปังโฮลวีท เพื่อลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลที่เร็วเกินไป (น้ำตาลมีส่วนเพิ่มโอกาสการอักเสบ) แล้วอย่าลืมกินผักและผลไม้ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบ
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม : หลายคนอาจนึกถึง การออกกำลังกาย เพราะเป็นแนวทางหนึ่งในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีสมรรถภาพเช่นเดิมได้อีกครั้ง
ซึ่งแม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นผลดีต่อร่างกาย แต่บางอย่างอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิด (และถึงขั้นทำให้อาการแย่ลงได้) ดังนั้นในผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิดจึงควรเลือกการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ดังนั้น ควรเริ่มจากท่าออกกำลังกายเบา ๆ เน้นเคลื่อนไหวช้า ๆ ให้มากที่สุด อย่าพึ่งรีบไปทำท่ายาก
อย่าพึ่งเร่งตัวเองให้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เพราะช่วงแรกนั้น ปอดหรืออวัยวะต่าง ๆ ของเราอาจยังมีส่วนที่เสียหายอยู่ ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
แม้เป็นแค่ท่าออกกำลังกายที่เมื่อก่อนเคยทำได้ตามปกติ แต่เพราะสมรรถภาพของปอดหรืออวัยวะยังไม่เหมือนเดิม ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้เช่นกัน
สรุปแล้ว การเลือกรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วย ซ่อม สร้าง เสริม รวมถึงการออกกำลังกายให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายที่พึ่งหายดีจากโควิด จึงต้องกระทำอย่างเหมาะสม ถ้าเป็นไปได้ ควรมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลจะดีที่สุด
ที่มา : โรงพยาบาลพระรามเก้า