เช็ความคืบหน้า 4 วัคซีนโควิดสัญชาติไทยวิจัยถึงไหนแล้วที่นี่มีคำตอบ

23 เม.ย. 2565 | 07:43 น.
อัปเดตล่าสุด :23 เม.ย. 2565 | 14:52 น.

เช็คความคืบหน้า 4 วัคซีนโควิดสัญชาติไทย หลังสถาบันวิจัยในประเทศเดินหน้าผลิตวัคซีนโควิด 19 เพื่อต้านเชื้อไวรัสอ่านที่นี่มีคำตอบ

จากกรณีที่ประเทศกำลังพัฒนาและวิจัยวัคซีนโควิด 19 หลังเชื้อโควิดแพร่ระบาดมากกว่า 2 ปี ล่าสุด ศบค.รายงานความคืบหน้าการพัฒนา 4 วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด19 ที่ผลิตโดยคนไทย ณ วันที่ 20 เม.ย.65  ดังนี้

 

  • Chula-Cov19 ชนิด mRNA  พัฒนาโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ อยู่ระหว่างการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 2  หน่วยงานได้รับการสนับสนุนงบจากรัฐบาล วงเงิน 2,715 ล้านบาท คาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ภายในปีต้น 2566 และเตรียมพร้อมผลิตในหลักล้านโดสต่อไป

 

 

  • HXP-GPOVac ชนิดเชื้อตาย (Inactivated) พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรมและมหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนี้ อยู่ระหว่างการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 2  หน่วยงานได้รับการสนับสนุนงบจากรัฐบาลวงเงิน 445 ล้านบาท คาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ภายในไตรมาส 4 ปี 2565 และจะเริ่มมีวัคซีนใช้ในปี 2566 ตั้งเป้าผลิตปีละประมาณ 10-20 ล้านโดสต่อปี

 

  • Baiya SARS-Cov-2-Vax (ผลิตจากโปรตีนใบยาสูบ) พัฒนาโดย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ อยู่ระหว่างการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 1 หน่วยงานได้รับการสนับสนุนงบจากรัฐบาลวงเงิน 1,469 ล้านบาท คาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ภายในปี 2565 ตั้งเป้าผลิตเดือนละ1-5 ล้านโดส ปีละ 60 ล้านโดส

 

 

วัคซีน 4 ชนิด ต้านโควิด

 

  • Covigen (ชนิด DNA) เป็นวัคซีนทางเลือกแบบไร้เข็ม พัฒนาโดยบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ขณะนี้ อยู่ระหว่างการทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 1  หน่วยงานได้รับการสนับสนุนงบจากรัฐบาลวงเงิน 650 ล้านบาท คาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ภายในปี 2565.

 

ที่มา: ศบค.