"เหงื่อออกตอนกลางคืน" ติดโควิดโอมิครอนไหม หรือเป็นโรคอื่น เช็คให้ชัวร์

28 เม.ย. 2565 | 04:00 น.
อัปเดตล่าสุด :28 เม.ย. 2565 | 09:53 น.

"เหงื่อออกตอนกลางคืน" เป็นหนึ่งในอาการของผู้เชื้อติดโควิดโอมิครอน หลายคนกังวลว่าเมื่อมีภาวะเเบบนี้หมายถึงติดโควิดเเล้วหรือไม่ ไม่ได้เป็นเเบบนั้นเสมอไป อาจเป็นอาการที่เกิดจากโรคอื่นก็ได้ เช็คให้ชัวร์

“เหงื่อออกตอนกลางคืน” เป็นหนึ่งในอาการที่ผู้ป่วยได้รับการติดเชื้อ "โอมิครอน" ซึ่งเป็นตัวแปรใหม่ที่ปรากฏขึ้นขณะนอนหลับ  แพทย์จากแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ตรวจพบเชื้อ "โอมิครอน" นี้เป็นครั้งแรก ได้ค้นพบว่า ผู้ป่วยมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนขณะนอนหลับ

อาการที่ออกมาจากแอฟริกาใต้โดยแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย โอมิครอน แสดงให้เห็นถึงอาการใหม่ 5 ประการ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย เหนื่อยมาก ไอแห้ง และเหงื่อออกตอนกลางคืน แม้จะนอนหลับในห้องเย็น ซึ่งทำให้เปียกโชกจนคุณอาจต้องลุกขึ้นไปเปลี่ยนเสื้อผ้า สิ่งสำคัญคือเราต้องคอยติดตามอาการเหล่านี้

"เหงื่อออกตอนกลางคืน" ทั้งที่นอนห้องปรับอากาศ อย่าเพิ่งตกใจไปเพราะอาการนี้ อาจไม่ใช่อาการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเสมอไป แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย 

 

เหงื่อออกตอนกลางคืน คืออะไร

  • ภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกมากผิดปกติ แม้อยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็น เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ยังอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกาย หรือเป็นหนึ่งในอาการของโรคร้ายแรงได้ด้วย

 

สัญญาณเตือนโรคใดบ้าง

โควิดสายพันธุ์โอมิครอน

หลังจากเกิดการระบาดของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ อย่างโควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 หรือโอิมครอน (Omicron) สายพันธุ์ที่น่ากังวลใจไม่น้อย แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา อาการป่วยยังไม่ชัดเท่าสายพันธุ์อื่น บางครั้งเกิดความสับสนระหว่างติดโควิดหรือป่วยไข้หวัด ถึงอย่างนั้นโควิดสายพันธุ์โอมิครอนก็มีอาการที่สามารถสังเกตได้นั่นคือ อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน 

 

โรคอ้วน

ภาวะอ้วนมาก ๆ ชั้นไขมันใต้ผิวหนังหนาตัวขึ้นเป็นผลให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ ทำให้ต้องระบายความร้อนภายในร่างกายออกมาในรูปแบบของเหงื่อมากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ 

 

การติดเชื้อในร่างกาย

อาการป่วยเหล่านี้มักทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงจนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กำจัดเชื้อ และการขับเหงื่อออกมามากขึ้นก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้ ดังนั้นถ้าหายป่วยอาการเหงื่อออกมากผิดปกติก็หายไปด้วย

 

โรคพาร์กินสัน

เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่าโดปามีน เป็นสารที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตสารนี้ได้ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว โดยผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายมีอาการมือสั่นร่วมกับอาการเหงื่อออกเยอะผิดปกติ

 

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

แม้ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอย่างแน่ชัด แต่อาการเริ่มต้นของผู้ป่วยโรคนี้มีทั้งเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือกลางคืนเหงื่อออกมากถึงแม้จะนอนอยู่ในห้องแอร์

 

โรคเบาหวาน

อาการเหงื่อออกมากผิดปกติเป็นอาการข้างเคียงของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 

 

ภาวะวัยทอง

ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนขาดความสมดุล ส่งผลให้ผู้ที่เข้าสู่วัยทองมีเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน อารมณ์แปรปรวน รู้สึกร้อนวูบวาบที่ผิวบริเวณศีรษะหรือหน้าอก อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะ 

 

เหงื่อออกตอนกลางคืน รักษาได้ไหม

วิธีการรักษาอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนเป็นไปตามโรคที่เป็นอยู่ 

 

วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลภาวะเหงื่อออกตอนกลางคืน

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือจำกัดปริมาณการดื่ม
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
  • ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • เลือกใช้เครื่องนอนที่ช่วยระบายความร้อนได้ดี
  • ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ที่ระบายอากาศได้ดี
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อเลี่ยงปัญหาสุขภาพ
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเสมอเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย