วันที่ 1 พ.ค.65 วันแรงงานแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม ไขข้อสงสัย"ประกันสังคม" ของผู้ประกันตนในรูปแบบถามมา ตอบไป #ครอบครัวประกันสังคม ดังนี้
ถาม : ผู้ประกันตนต้องการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว ในเว็บไซต์สํานักงานประกันสังคม (www.sso.go.th) แต่ลืม Password ต้องทําอย่างไร
ตอบ : ผู้ประกันตนสามารถตั้งค่าใหม่ด้วยหมายเลขบัตรประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ที่ใช้ลงทะเบียนในระบบสมาชิกครั้งแรก หรือ สอบถามเพิ่มเติมที่ สายด่วน 1506
ถาม : ผู้ประกันตนมาตรา 40 ป่วยเป็นโควิด-19 ได้รับสิทธิอย่างไรบ้าง
ตอบ : สิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของผู้ประกันตนมาตรา 40 กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีสิทธิได้รับ
ถาม : ต้องการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว โดยไม่ต้อง เดินทางไปที่สํานักงานประกันสังคม
ตอบ : สามารถตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลผู้ประกันตน สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น สถานพยาบาลตามสิทธิ ยอดเงินชราภาพ การส่งเงินสมทบ รับข้อมูล ข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ สํานักงานประกันสังคม www.sso.go.th, ดาวน์โหลด Application SsOConnect หรือ Application Line Official Account เพิ่มเพื่อน @ssothai หรือสอบถามผ่าน Facebook Messenger ของสํานักงานประกันสังคม และโทร.สายด่วน 1506 ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ถาม : ยื่นรับเงินบํานาญชราภาพ ทําไมต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอน
ตอบ : ผู้ประกันตนสามารถขอรับเงินบํานาญชราภาพ ผ่านพร้อมเพย์ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เพียงลงทะเบียนพร้อมเพย์กับธนาคารที่ เปิดบัญชีเงินฝากไว้พร้อมแสดงบัตร ประจําตัวประชาชน
ถาม : ผู้ประกันตนต่างด้าว สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตร ได้หรือไม่
ตอบ : ผู้ประกันตนต่างด้าวที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม สามารถเบิกสิทธิประโยชน์ได้ทั้ง 7 กรณีเช่นเดียวกับคนไทย แต่หากยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องยืนยันการมีชีวิตอยู่ของบุตรทุกเดือนตุลาคมของทุกปีตลอดระยะเวลาที่ รับเงินสงเคราะห์บุตร
ถาม : ขาดสิทธิการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 มาจากสาเหตุอะไรบ้าง
ตอบ : เหตุที่ทําให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 สิ้นสภาพ ได้แก่ ผู้ประกันตนตาย, ลาออก, กลับเข้ามาเป็นลูกจ้าง มาตรา 33, ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน, ภายใน 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ทั้งนี้ สํานักงานประกันสังคมจะมีการแจ้งเตือน การชําระเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ทาง SMS และทาง Application Line (@ssothai)
ถาม : ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้กลับเข้าทำงานเป็นลูกจ้างต้องทำอย่างไร
ตอบ : ผู้ประกันตนได้งานประจำในสถานประกอบการ ไม่ต้องทำเรื่องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 เนื่องจากนายจ้างจะดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนย้ายมาตราเป็นมาตรา 33 ให้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เข้าทำงาน
ถาม : ผู้ประกันตน จะถูกตัดสิทธิ กรณีสงเคราะห์บุตร เนื่องจากสาเหตุใดบ้าง
ตอบ : สาเหตุที่ผู้ประกันตนถูกตัดสิทธิ กรณีสงเคราะห์บุตร ได้แก่
ถาม : ผู้ประกันตนติดโควิด-19 เบิกเงินทดแทนได้หรือไม่
ตอบ : ผู้ประกันตนตัดเชื้อโควิด-19 สามารถเบิกเงินกดแทนการขาดรายได้ ดังนี้
ㆍ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 กรณีลาป่วย : ผู้ประกันตนหยุดพักรักษาตัว รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ๋าง แต่หากเกิน 30 วัน (ในปีปฏิทิน) สามารถเบิกเงินทดแทน การขาดรายได้จากประกันสังคม โดยได้รับร้อยละ 50 ของค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
ㆍ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
ㆍ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 รับเงินทดแทนการขาดรายได้
1. เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท กรณีที่เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยใน /โรงพยาบาลสนาม / Hospitel ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป
2. เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท กรณีมีความเห็นแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวหรือพักกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
3. เงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท (เฉพาะผู้ประกันตนทางเลือกที่ 1 และ 2) กรณีไปพบแพทย์ แต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยในและไม่ได้มีความเห็นแพทย์ให้หยุด
พักรักษาตัวหรือพักกักตัว โดยต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงานประกันสังคม
*ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 ต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน
ภายในระยะเว้ลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
*ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
**การวินิจฉัยจะพิจารณาจากเอกสารหลักฐานและใบรับรองแพทย์**