ข่าวโควิดวันนี้ยังคงเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชาชน ทั้งจำนวนของผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน และผู้เสียชีวิต
น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
เปลี่ยนเกณฑ์รายงานผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ใหม่ ทำให้ยอดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อวาน (5 พ.ค.) เสียชีวิตจากโควิด 54 ราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 58% ส่วนผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงเพียง 8.7%
โควิดระลอกที่สี่ ซึ่งเกิดจากไวรัสโอมิครอน (Omicron) ของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา
จึงส่งผลกระทบให้พบจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และลดลงเป็นสัดส่วนที่มากกว่าผู้ป่วยหนักที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
โดยพิจารณาจำนวนผู้เสียชีวิตปัจจุบัน เปรียบเทียบ 7 วันย้อนหลัง พบการลดลงมากถึง 58% จาก 129 ราย เหลือ 54 ราย
ในขณะที่ผู้ป่วยหนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดลง 8.7% จาก 850 ราย เหลือ 776 ราย
และถ้าดูสถิติย้อนหลังไป 2 สัปดาห์ ซึ่งจะทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น เพราะผู้เสียชีวิตมีค่าเฉลี่ยของการติดเชื้อแล้วเจ็บป่วย 7 วันก่อนเสียชีวิต
พบว่าจำนวนผู้ป่วยหนักใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดลง 10.4% จาก 921 รายเป็น 825 ราย
จึงวิเคราะห์ได้ว่า ขณะนี้โควิดของไทยอยู่ในช่วงขาลงโดยจำนวนผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิตเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีการลดลงที่เป็นสัดส่วน สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้เสียชีวิตกับผู้ป่วยหนักที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
แต่ในช่วงพฤษภาคม 2565 จำนวนผู้เสียชีวิต ลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าจำนวนผู้ป่วยหนักที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
โดยพบผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง 8-10% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะส่งผลให้จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงในระดับเดียวกัน
แต่พบว่ารายงานผู้เสียชีวิตในช่วงนี้ลดลง 58%
เนื่องจากมีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ของการรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิด จากเดิมซึ่งนับผู้เสียชีวิตทุกรายที่ตรวจพบไวรัส
มาเป็นรายงานผู้ที่เสียชีวิตจากโควิดโดยตรง คือมีอาการปอดอักเสบหรืออาการอื่นที่ชัดเจน (Died from COVID-19)
และตัดผู้เสียชีวิตจากโรคร่วมอื่นๆแต่พบโควิดในตัว (Died with COVID-19)
ซึ่งเข้าใจได้ในการปรับเกณฑ์ดังกล่าว ให้มีความถูกต้องเหมาะสมกับไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่มีความรุนแรงน้อยลง ติดเชื้อแล้วเสียชีวิตน้อยลง
ในมิติของการสื่อสารสาธารณะ น่าจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและต่อเนื่องได้ดี
ถ้าจะรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตเป็นสองลักษณะคือ
เพื่อทำให้สาธารณะสามารถเปรียบเทียบผู้เสียชีวิต ณ ปัจจุบันกับช่วงเวลาในอดีตที่ผ่านมาได้