วันที่ 20 พ.ค. 2565 นางสาว ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในงานเสวนา BETTER THAILAND open dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า โดยกล่าวถึงการพัฒนาเยาวชนและการศึกษาไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21 สรุปได้ว่า สถานการณ์โควิดทำให้เกิดสิ่งใหม่เกิดขึ้น ไม่ว่าอาชีพใหม่ กลไกความรู้ใหม่ ทำให้โลกต้องปรับเปลี่ยนบนความเรียนรู้ใหม่ๆตลอดเวลา เร่งปฎิกิริยาให้การศึกษาต้องเปลี่ยนไปด้วย
วันนี้สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งทำให้เร็วเพื่อไปสู่ศตวรรษที่ 21 ประการแรก อยากเร่งทำคือ อยากให้เด็กๆมีห้องเรียนที่ตอบโจทย์อาชีพของเด็กได้ อยากเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการคิดกระบวนการเรียนรู้
ประการที่ 2 ผลสืบเนื่องจากระบาดของเชื้อโควิด ทำให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาการสื่อสารต่างๆมากขึ้น วันนี้เราสามารถทำให้คุณครู ที่เก่งที่สุดในประเทศไทย เข้าถึงเด็กได้ผ่านสื่อต่างๆ และกลไกในการสื่อสารต่างๆสื่อต่างๆเหล่านี้ต่อไปในอนาคตจะช่วยลดความเลื่อมล้ำด้านการศึกษาของเด็กและคุณครูที่อยู่ห่างไกลได้
ประการที่ 3 เรื่องแพลตฟอร์มการเรียนรู้และการสื่อสารต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการมีแพลตฟอร์มอยู่แล้ว เราจะทำให้น่าสนใจมากขึ้น และเข้าถึงพื้นที่ต่างๆได้มากขึ้น
ประการที่ 4 เด็กไทยต้องมีกระบวนการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “แอคทีฟเลินนิ่ง” ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กพัฒนาเรื่องทักษะต่างๆที่จะเกิดขึ้นในศตวรรตที่ 21 ระบบการเรียนรู้ดังกล่าว เด็กไทยทำได้ไม่แพ้เด็กชาติใด
ล่าสุด เด็กไทยได้รับรางวัลจากประกวดโครงงานต่างๆด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นผลจากกระบวนการสอนที่ใช้กระบวนการของ”แอดทีฟเลินนิ่ง”
เด็กได้โครงงานที่น่าอเมซิ่งมาก เช่น เด็กมัธยมปัจจบันสามารรถทำโครงงานเกี่ยวมะเร็ง วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เขาสามารถต่อยอดสิ่งที่คุณครูสอนได้ นำมาปรับเปลี่ยนให้เกิดนวัตกรรมได้ ระบบนี้กระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นที่จะให้มีการขยายให้ครอบคลุมให้มากที่สุด
ประการที่ 5 นักเรียนอาชีวะ ถือว่าเป็นกำลังสำคัญที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในเรื่องของทวิภาคี เนื่องจากเราต้องการผลิตคนให้ตอบโจทย์ภาคธุรกิจ จึงทำหลักสูตรร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เยาวชนเมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถมีทักษะ มีองค์ความรู้ที่จะตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้
ที่สำคัญเราได้ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม โดยดูว่ามีอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นใหม่ภายใน 2 ปี ไม่ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ การบิน หรือภาคปิโตรเลี่ยม ฯลฯ มีการพูดคุยกับภาคอุตสาหกรรม ต้องการเด็กกลุ่มนี้ในภาคธุรกิจใหม่ กว่า 5 แสนคน
เราต้องจูงใจให้อาชีวะเข้ามาสู่ระบบให้มีงาน ตอบโจทย์และตรงกับวิชาชีพที่เรียนมา จึงทำโครงการ “เอ็กเซลเลนท์เซ็นเตอร์”เน้นเฉพาะกลุ่มอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นๆ เช่นกลุ่มผลิตยานยนต์ เครื่องบิน เป็นกลุ่มขาดแคลนจึงทำหลักสูตรมุ่งไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมและอาชีพใหม่ๆที่ตรงจุด
ประการที่ 6 โรงเรียนคุณภาพ ต้องยอมรับว่า โรงเรียนในสังกัดเฉพาะในภาครัฐ ไม่รวมเอกชน ประมาณ3 หมื่นกว่าโรงเรียน แต่การเกิดของประชากรลดลงมาก เราไม่สามารถทำให้ทุกโรงเรียนเป็นโรงเรียนคุณภาพ ทำอยางไรจะสร้างโรงเรียนคุณภาพในเขตพื้นที่ เหมือนแม่เหล็ก และเป็นเครือข่ายให้โรงเรียนใกล้เคียงได้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ที่ผ่านมานายกฯให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้โรงเรียนคุณภาพหลักหมื่นล้านบาท พัฒนาโรงเรียนที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆให้มีสภาพที่ดี มีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การเรียน ให้รองรับกับโรงเรียนคุณภาพในชุมชนในเขตพื้นที่ต่างๆ
“และการลดความเหลื่อมล้ำ เด็กต้องกลับเข้าสู่ระบบการเรียน ทำอย่างไรให้เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา เป็นโจทย์ที่เราต้องทำงานต่อไป” รมว.ศึกษาธิการกล่าวทิ้งท้าย