น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ไม่น่าเชื่อ !! พบไวรัสก่อโรคโควิด-19ในไส้ติ่งและเต้านมของผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าติดโควิดมานานกว่าหนึ่งปีแล้ว
ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า เมื่อมนุษย์สัมผัสกับไวรัสโคโรนา (Corona virus) ที่ก่อโรคโควิด จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
ต่อมาก็พบว่า ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อแสดงอาการนั้น เมื่อหายดีแล้ว ในระยะพักฟื้น (Convalescence) มีการตรวจพบซากของไวรัส (Viral Antigen) รวมทั้งสารพันธุกรรมของไวรัส (Viral RNA) ในทางเดินอาหารและในอุจจาระ
และเมื่อมีเรามีความรู้เพิ่มมากขึ้นอีก ก็พบกลุ่มอาการที่เรียกว่าลองโควิด (Long Covid) ซึ่งองค์การอนามัยโลกให้คำนิยามไว้ว่า
เป็นภาวะที่ผู้ป่วยโควิด ยังคงมีอาการต่อเนื่องไม่หายขาด หลังจากที่พ้นระยะเฉียบพลัน (Acute phase) และอาการเหล่านั้นไม่สามารถจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่นได้ ประกอบด้วย
มีการศึกษาล่าสุดพบผู้ป่วยลองโควิด 2 ราย ซึ่งรายหนึ่งวินิจฉัยโรคได้เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ส่วนอีกรายหนึ่งเมื่อ 18 เดือนที่แล้ว
เมื่อตรวจในชิ้นเนื้อพบว่า มีทั้งซากเชื้อไวรัส (Viral Antigen) และสารพันธุกรรม (RNA) ที่แสดงว่าไวรัสยังแบ่งตัวมีชีวิตได้ ในไส้ติ่ง และในเนื้อเยื่อเต้านม
แต่ไม่พบในเนื้อเยื่อของผิวหนัง คาดว่าเหตุที่ไม่พบไวรัสหรือซากเชื้อในผิวหนัง เนื่องจากเซลล์มีการหลุดลอกออกไปค่อนข้างบ่อย
ส่วนในไส้ติ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร คาดว่าเกิดจากมีตัวรับไวรัสที่ค่อนข้างมาก (ACE-2 receptor)
ส่วนที่เนื้อเยื่อเต้านม (Breast) มีความน่าสนใจตรงที่ พบไวรัสเฉพาะในเนื้อเยื่อปกติ แต่ไม่พบไวรัสในส่วนที่เป็นเนื้องอก
โดยที่ไวรัสโคโรนาก่อโรคโควิดมีโครงสร้างสำคัญในส่วนที่เป็นโปรตีน 4 ส่วนด้วยกันได้แก่
โดย NP จะเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค
และ S-protein หรือส่วนหนาม เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการผลิตวัคซีน
ในการตรวจสารพันธุกรรม (RNA) สามารถบ่งบอกว่าไวรัสยังมีความสามารถในการแบ่งตัวหรือมีชีวิตอยู่หรือไม่
นับเป็นข้อมูลใหม่ล่าสุด ที่มนุษย์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ที่ก่อโรคโควิด และมีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา
โดยสรุปได้ว่า พบผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโควิดมานานกว่าหนึ่งปีแล้ว ก็ยังอาจตรวจพบทั้งซากไวรัสและสารพันธุกรรมส่วนที่แสดงว่าไวรัสแบ่งตัวได้ ทั้งในไส้ติ่งและในเนื้อเยื่อของเต้านม
จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเรื่องเกี่ยวกับไวรัสโคโรนากันต่อไปอีก เนื่องจากเรามีผู้ติดเชื้อที่หายดีแล้วกว่า 500 ล้านคน
ในกลุ่มดังกล่าวนี้ แม้หายดีแล้ว ก็อาจจะมีไวรัสหลงเหลืออยู่บางส่วน ที่อาจส่งผลต่อร่างกายได้ ทำให้อวัยวะต่างๆมีความผิดปกติ ตราบเท่าที่เรายังเรียนรู้เรื่องของไวรัสไม่ครบถ้วนสมบูรณ์