15 มิถุนายน 2565 - หลังจากวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ประเทศไทย ปลดล็อกการใช้กัญชา - กัญชง ในหมู่ประชาชน พบกระแสการตื่นตัวทางธุรกิจมากมาย รวมไปถึง การนำกัญชาไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่มด้วย อย่างไรก็ตาม ในแง่ลบ เกิดกรณี มีผู้เผลอรับประทานข้าวจากร้านที่มีการผสมกัญชาเข้าไป มีอาการทรมานแพ้หนัก คอบวม กลืนน้ำลายไม่ได้ ส่วนอีกราย มี เด็กชักเข้าโรงพยาบาล หลังจากรับประทานก๋วยเตี๋ยวที่ใส่กัญชาเข้าไป
ล่าสุด ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์แฟนเพจ : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โดยระบุ ถึงอันตรายของการใช้กัญชาที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการนำกัญชามาปรุงอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมยก 8 ข้อแนะนำในการใช้กัญชาที่ถูกต้อง ตามใจความดังนี้ ...
ตอนนี้ หลังจากที่กัญชาถูกปลดออกจากรายชื่อสิ่งเสพติดของประเทศไทยไปแล้ว และมีคนนำมาอุปโภคบริโภคกันมากขึ้น โดยเฉพาะในการนำมาประกอบอาหาร จนทำให้เริ่มมีข่าวของผู้ที่รับประทานอาหารที่ใส่กัญชาลงไปแล้วเกิดอาการป่วย ตั้งแต่ไม่มากไปจนถึงกับรุนแรง ตามแต่ระดับการแพ้ของแต่ละคน
เลยขอสรุปข้อแนะนำจากทาง ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ที่เกี่ยวข้องกับการนำกัญชามาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม ดังต่อไปนี้
8 ข้อแนะนำ นำ 'กัญชา' มาทำอาหาร
ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้กัญชา
ทั้งนี้ ดร.เจษฎา ยังระบุว่า องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่าใน ใบสด ของกัญชา จะพบสาร cannabidiolic acid (CBDA) และ Tetrahydrocannabinolic acid (THCA) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ไม่เมา)แต่เมื่อถูกแสงและความร้อน ทั้งจากการปรุงและเก็บรักษา จะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง (decarboxylation)โดยสาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC (ที่ทำให้เมา)
มีการศึกษาพบว่าหากใช้ความร้อน 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือ 98 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที หรือ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 วินาที สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นเป็นสาร THC อย่างสมบูรณ์ การสูบกัญชาจะทำให้สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC ประมาณ 95% ใบกัญชาแห้งที่ถูกเก็บไว้ สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC อย่างช้าๆ
ที่มา : ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.)