ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
ประสบการณ์หมอเองกับโอไมครอน BA.4/5
วันที่ 30 พฤษภาคม คณะผู้วิจัยจากออสเตรเลียจารนัยความแยบยลของโอไมครอนในวารสารเนเจอร์
และในบทสัมภาษณ์จบด้วยประโยคว่าถ้าจะมีวาเรียนท์ไหน ที่จะได้รับสมญาว่าเป็น สายพันธ์ (strain) ก็คือโอไมครอนนี่แหละ
If any variant is worthy of calling a new strain, Omicron and sub-lineages thereof are.
14 มิ.ย. คณะผู้วิจัยจากอิมพิเรียลคอลเลจ รายงานในวารสาร Science พิสูจน์ว่า การฉีดวัคซีนสามเข็มโดยที่มีหรือไม่มีติดเชื้อโควิดที่ผ่านมา
เมื่อเจอกับโอไมครอน การตอบสนองทั้ง ที และ บี เชลล์ ไม่เป็นไปตามอย่างที่หวังว่าจะเป็นการกระตุ้นที่ดีขึ้น แต่กลับได้ผลต่ำ และอธิบายการติดซ้ำใหม่ได้
เช่นเดียวกับรายงานในวารสาร
นิวอิงแลนด์ วันที่ 22/6/65 ถึง BA 4/5
และแล้ว หมอเองติดไปแล้วตั้งแต่ 10 มิถุนายน และเช่นเดียวกับอีกหลายคน ตั้งแต่ค้นเดือนมิถุนายน แม้ว่าหลายคนจะฉีดเข็มที่สี่หรือห้าไปแล้ว
พิสูจน์ว่า วัคซีนกันการการติดโอไมครอนไม่ดี โดยเฉพาะสายย่อยนี้
แต่อานิสงส์ของการฉีดวัคซีน
"สามเข็มโดยเข็มสุดท้ายเป็น mRNA” จะลดความเสี่ยงอาการหนักได้ แต่ถ้าอาการมากขึ้นอย่านิ่งนอนใจ
ถ้าฉีดเชื้อตายให้เริ่มนับใหม่ ถ้าฉีด AZ ต้องตามด้วย mRNA
และถ้าจะให้หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของวัคซีนให้ได้มากที่สุดควรต้องฉีด ”ชั้นผิวหนัง”
สรุป บทเรียนเดือน มิ.ย. นี้จากตัวเอง และรอบข้าง
สรุปว่าถ้าไม่ติดได้จะเป็นดี หรือถ้า “ซวย” ติดไปแล้ว รักษาเร็วที่สุดให้หายเร็วที่สุดเพื่อกันลองโควิด