วันนี้ (วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 นพ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต (สสจ.ภูเก็ต) แถลงข่าวกรณีพบแถลงข่าวพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกของประเทศไทย เป็นชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย
โดยอาการเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์กับหญิงรายหนึ่ง ชายดังกล่าว เริ่มไอ และมีผื่นที่ใบหน้า จากนั้นได้ตรวจที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ไม่มีอาการมาก และได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยการกักตัวที่คอนโด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทราบผลจากแล็บแรกด้วยการเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค เบื้องต้นผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC)
ต่อมายืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 และทีมสอบสวนควบคุมโรครวบรวมข้อมูลการสอบสวนทั้งข้อมูลอาการทางคลินิก ข้อมูลระบาดวิทยา และข้อมูลห้องปฏิบัติการเข้าพิจารณาในคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในบ่ายวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผลสรุปว่าเป็นผู้ป่วยยืนยัน ฝีดาษวานร ที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
ในช่วงแรกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ก่อนที่จะพบว่าหายตัวไปในช่วงดึกของวันที่ 18 กรกฎาคม โดยทราบว่าชายดังกล่าวได้ขึ่นรถแท็กซี่ไปสถานบันเทิงแห่งหนึ่งย่านป่าตอง
ทั้งนี้พบผู้ป่วยเสี่ยงสูงทั้ง 17 คน ในช่วงวันที่ 18-19 กรกฎาคม ได้มีการส่งตรวจจากคนในสถานบันเทิงป่าตอง ไป 7 คน ไม่พบเชื้อ และตรวจเพิ่มวันนี้ อีก 9 ราย
ขณะที่ การติดตาม ในส่วนสถานที่บันเทิงมีผู้ใช้บริการรวม 142 ราย ตรวจสอบพบ 5 ราย มีอาการเข้าข่าย ได้แก่ ไข้ เจ็บคอ แพทย์ส่งผลตรวจเบื้องต้นแล้ว ไม่พบเชื้อ ขณะนี้เร่งค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงเพิ่มเติมในโรงแรมที่ผู้ป่วยพักอาศัยและสถานบันเทิงอีก 2 แห่ง
หากเจอตัวจะดำเนินการอย่างไร เป็นขั้นตอนของ Overstay (การอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะอนุญาต) กรณีนักท่องเที่ยวไม่ให้ความร่วมมือมีมาตรการลงโทษอย่างไร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ระบุว่า เขารับปากว่าจะมา โอเวอร์สตย์ หายแล้ว ที่จึงเป็นสาเหตุที่ไม่มามอบตัว
ในกรณีนี้หากพบว่าเป็นโควิด-19 สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากโรคฝีดาษวานรเป็นโรคเฝ้าระวัง จึงได้ลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจภูธรกะทู้เรียบร้อยแล้ว ต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าสามารถเป็นความผิดใดได้บ้าง