โอมิครอน BA.4 / BA.5 ยึดครองประเทศไทย น่ากลัวแค่ไหน อ่านเลยที่นี่

27 ก.ค. 2565 | 21:11 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ค. 2565 | 22:41 น.

โอมิครอน BA.4/BA.5 ยึดครองประเทศไทย น่ากลัวแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอเฉลิมชัยเผยระบาดกรุงเทพฯ 80% ต่างจังหวัด 60%

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
 

 

BA.4/5 ครองกรุงเทพฯ 80% ครองต่างจังหวัด 60% พบมากในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรง

 

หลังจากที่ประเทศไทยพบไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเมื่อปลายปี 2564 ในขณะที่กำลังมีไวรัสเดลตาเป็นสายพันธุ์หลักนั้น

 

ด้วยความสามารถในการแพร่ระบาดที่รวดเร็วของโอมิครอนที่มีเหนือกว่าเดลต้า จึงได้เกิดการแพร่ระบาดของโอมิครอน จนเกิดเป็นระลอกใหม่ในช่วงมกราคม 2565 จนถึงปัจจุบัน

 

โดยมีการเปลี่ยนแปลงไวรัสสายพันธุ์หลัก จากสายพันธุ์ย่อย BA.1 เป็น BA.2 และในปัจจุบันเป็น BA.4/BA.5 (โดยพบสัดส่วนของ BA.5 เป็น 3 เท่าของ BA.4)
 

จากรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (25กค2565) ที่ทำการถอดรหัสจีโนมของไวรัสก่อโรคโควิดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อมูลล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า ไวรัสสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 กลายเป็นสายพันธุ์หลักของประเทศไทยไปเรียบร้อยแล้ว

 

โดยคาดว่าน่าจะเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร เพราะมีสัดส่วนเป็นเป็นสายพันธุ์นี้ถึง 80% แล้วจึงแพร่ต่อไปยังต่างจังหวัด ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ ที่ 60%

 

ที่น่าสนใจคือพบว่าไวรัสสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 พบในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ในสัดส่วนที่มากกว่าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง

 

โอมิครอน BA.4/BA.5 ครองประเทศไทย

 

กล่าวคือในเขตกรุงเทพมหานคร พบในผู้ป่วยอาการรุนแรง 87% อาการไม่รุนแรง 77%

 

ส่วนในต่างจังหวัดพบในผู้ป่วยอาการรุนแรง 73% และในผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง 55%

จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า

 

  • ไวรัสสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 ได้เป็นสายพันธุ์หลักของประเทศไทยทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดแล้ว
  • พบไวรัส BA.5 มากกว่า BA.4 ในสัดส่วน 3:1
  • พบสัดส่วนของไวรัส BA.4/BA.5 ในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรงมากกว่าในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการไม่รุนแรง