ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
ประเด็นสำคัญ ของฝีดาษลิง 2022
- ป้องกันการแพร่ได้ และไม่ได้จำเป็นต้องให้ยาทุกราย เพราะหายเองได้
- รู้จัก คู่สัมพันธ์ คู่นอน คู่รัก
- ความยากของการวินิจฉัย ผื่น ตุ่ม แผล ที่ผิวหนัง อยู่ในที่เร้นลับ อวัยวะเพศ ทวารหนัก และเยื่อบุ ช่องก้น ลิ้น ช่องปาก รูทวาร (anogenital oropharynx tongue) ซึ่งบ่งบอกช่องทางการติด และไวรัสจะกระจายมาหน้า มือ ตัวทีหลัง หรือไม่มาก็ได้
- ข้อดี คือ มีอาการไม่สบาย นำมาก่อน จะมีไข้หรือไม่มีก็ตาม โดยมีอาการ เหนื่อยล้า เซื่อง หมดแรง ปวดเมื่อย ปวดหัว ทั้งนี้ โดยที่จะมีการติดต่อกัน ต่อเมื่อเริ่มมีอาการแล้ว โดยแพร่ทางละอองน้ำลายขณะสัมผัสใกล้ชิด แม้ยังไม่มีผื่นแผล ซึ่งเมื่อมี ก็เป็น อีกช่องทางของการแพร่ได้ เมื่อมีการสัมผัสที่แผล
- การสัมผัสใกล้ชิดกัน เป็นช่องทางติดต่อที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ขณะมีเพศสัมพันธ์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะพบดีเอ็นเอของไวรัสในน้ำอสุจิ ปัสสวะ เลือดได้ แต่ยังไม่สามารถยืนยันว่าเป็นไวรัสในรูปที่ติดต่อได้หรือไม่
ต่างจากน้ำที่ตุ่มน้ำ หรือหนองที่แผลที่ยังไม่าะตกสะเก็ด หรือละอองฝอยน้ำลายซึ่งติดต่อได้
- การแพร่ให้คนในครอบครัว ในบ้านเดียวกัน ยังค่อนข้างยากมาก ติดยากกว่าโควิด การให้ความรู้อย่างกระจ่าง ถึงอาการ ช่องทางการติด การระวังตัว เป็นสิ่งสำคัญ และ ไม่ใช่เป็นเฉพาะในคนรักเพศเดียวกัน หรือ สองเพศ
(ประมวลจากรายงานในวารสารนิวอิงแลนด์วันที่ 21 กรกฎาคม
รายงานการติดเชื้อ 528 รายระหว่างวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 24 มิถุนายนใน 16 ประเทศ)
การตรวจฝีดาษลิงมีในเครือข่ายห้องปฏิบัติการทั่วประเทศรวมทั้งโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์และของที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
และที่ต่างๆเพื่อประสานกันในการติดตามและเฝ้าระวังทั่วประเทศครับ