ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว (Anan Jongkaewwattana)โดยมีข้อความระบุว่า
ช่วงที่โอมิครอน BA.1 ระบาดตอนต้นปียังมีผู้ป่วยที่ติด BA.1 แบบที่ไม่มีภูมิจากวัคซีนมาก่อนพอสมควร
ทำให้นักวิจัยสามารถนำภูมิจากการติดเชื้อ BA.1 ตามธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นโอมิครอนตัวแรก
มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งไวรัสโอมิครอนตัวใหม่ๆ
รวมถึงไวรัสที่เป็นลูกผสมระหว่าง BA.1 กับ Delta (XD) ด้วย
จากผลการศึกษาจะเห็นชัดว่า BA.1 แตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิมมากจน
ภูมิที่ได้จากการติดเชื้อตามธรรมชาติมาไม่สามารถข้ามไปป้องกันสายพันธุ์เก่าได้เลย
คล้ายๆกับคนที่มีภูมิจากวัคซีนสายพันธุ์เก่ามาถ้าไม่ boost เพิ่ม BA.1 ก็จะหนีได้หมดเช่นกัน
อันนี้เห็นชัดว่าการกลายพันธุ์ของโอมิครอนเปลี่ยนแบบฉับพลันมากๆ
ที่น่าสนใจคือ ไวรัสในตระกูลที่ WHO เรียกว่า Omicron เหมือนกันอย่าง BA.2, BA.3 และ BA.4/BA.5
เราคาดหวังว่าน่าจะมีความใกล้เคียงกับ BA.1 มากกว่าสายพันธุ์เดิม
ซึ่งข้อมูลบอกว่าน่าจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ เพียงแต่ ไวรัสตัวใหม่ๆเหล่านี้หนีภูมิจาก BA.1 ไวมากๆ
ที่ชัดที่สุดคือ BA.4/BA.5 ที่ระดับภูมิคุ้มกันจาก BA.1 แทบจะยับยั้งไวรัสไม่ได้แล้ว ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก
ทั้งๆที่ไวรัสทั้งสองชื่อเป็นกลุ่ม BA หรือ โอมิครอนเหมือนกัน ซึ่งการใช้ชื่ออักษรกรีกเป็นตัวระบุสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างคงไม่มีประโยชน์ หรือไม่ทำกันแล้ว
เพราะข้อมูลชัดว่า BA.5 วันนี้ไม่เหมือนกับ BA.1 พอที่จะเรียกว่าครอบครัวเดียวกันอีกต่อไป
วัคซีนรุ่นใหม่ที่ตอนแรกตั้งใจใช้ BA.1 เป็นแอนติเจนหลัก ถูก FDA ให้กลับไปปรับใหม่เป็น BA.5 แทน
คงเนื่องจากสาเหตุนี้ แต่อีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเราอาจจะเจอกับ BA.xx ที่ภูมิจาก BA.5 เอาไม่อยู่เช่นกัน เป็นสิ่งที่ไม่เกินการคาดเดา