ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โพสต์ข้อความว่า
โควิค-19 เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ หรือเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์
ราชบัณฑิต
ไวรัสโควิค 19 เป็น RNA ไวรัส จึงมีการกลายพันธุ์หรือเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ง่ายกว่า ไวรัสในกลุ่มของ DNA
และเมื่อมีการใช้วัคซีนไปกดดันไวรัส โดยธรรมชาติ หลักการวิวัฒนาการ ก็ทำให้เกิดมีการกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมหลีกระบบภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะภูมิต้านทานในส่วนที่ป้องกันการติดเชื้อ
ภูมิต้านทานในส่วน กำจัดไวรัสหรือการหายของโรค ยังคงมีอยู่ จึงทำให้ลดความรุนแรงของโรคได้
วัคซีนที่ใช้กันอยู่พัฒนามาตั้งแต่สายพันธุ์ อู่ฮั่นดั้งเดิม ไวรัสได้หลบหลีกมาไกล
จึงทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดโรคลดน้อยลง แต่การกำจัดเชื้อหรือลดความรุนแรงยังคงมีอยู่ในการป้องกันการติดเชื้อ ภูมิต้านทานที่ต้องการ
ถ้าตรงกับสายพันธุ์ไวรัส ก็จะป้องกันได้ดี แม้มีระดับต่ำ
ผู้ที่ติดเชื้อ และเคยฉีดวัคซีนมาแล้ว หรือติดเชื้อแล้วฉีดวัคซีน จะมีภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสูง ที่เรียกว่าภูมิต้านทานแบบลูกผสม
และถ้าเป็นภูมิต้านทานที่ติดเชื้อสายพันธุ์ล่าสุดในการระบาดอย่างมากในตอนนี้
ผู้ที่ติดเชื้อแล้วจึงเปรียบเสมือนได้รับวัคซีนเข็มที่ดีเยี่ยมตรงกับสายพันธุ์ที่ติดเชื้อ
ถ้าติดเชื้อสายพันธุ์ล่าสุดก็จะป้องกันได้ดีในสายพันธุ์ล่าสุด
ผู้ที่ติดเชื้อตั้งแต่สายพันธุ์อู่ฮั่นหรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้อีก
สายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีน จึงมีความสำคัญ การพัฒนาวัคซีนในการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ให้ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ และใช้อย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็น
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในอนาคตวัคซีนป้องกันโควิด ก็จะคล้ายไข้หวัดใหญ่ จะต้องปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาด
และจะมีการฉีดในกลุ่มเสี่ยง และให้ประจำปี เหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่