เมฆอาร์คัสคืออะไร เกิดจากอะไร เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์เมฆลอยต่ำ และท้องฟ้ามืดเหมือนยามค่ำคืนเมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้ดำเนินการสืบค้นข้อมูลเรื่องดังกล่าว เพื่อคลายข้อสงสัยให้ได้รับทราบกัน พบว่า
"เมฆอาร์คัส" หรือ เมฆกันชน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์หนึ่งก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
"เมฆอาร์คัส" (Arcus Cloud) เป็นปฏิกิริยาหนึ่งของ เมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) ซึ่งเป็น เมฆชั้นต่ำที่ก่อตัวในแนวระนาบ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่
อย่างไรก็ดี ต้องเรียนว่า เมฆอาร์คัส ไม่มีอันตรายโดยตรง แต่เนื่องจากอาร์คัสเป็นส่วนหนึ่งของ เมฆฝนฟ้าคะนอง จึงมีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก (positive lighting) ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่ง ปรากฏการณ์อาร์คัส ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย
สำหรับปรากฎการณ์ "เมฆอาร์คัส" เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว 3 ครั้ง ประกอบด้วย
อย่างไรก็ดี กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ชี้แจงว่า เมื่อเช้าวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ได้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเกิดจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้เกิดฝนตกในภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ส่วนเมฆที่ปรากฏ เป็นเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ คิวมูโลนิมบัส เมื่อเช้านี้มีลักษณะการเคลื่อนที่ขึ้นลงที่รุนแรงทำให้เกิดแนวโค้งเหมือนเมฆอาร์คัส (มีลักษณะโค้งเหมือนกันชนหน้ารถ คล้ายม้วนแบบหลอดและแบบชั้น) และเนื่องจากอาร์คัส เป็นส่วนหนึ่งของเมฆฝนฟ้าคะนองจึงสามารถแผ่ออกมาไกลจากตัวเมฆและมองเห็นได้ในหลายพื้นที่และหลายกิโลเมตร
กรณีที่กลุ่มเมฆฝนทำไมถึงเป็นสีดำ กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงว่า เนื่องจากกลุ่มเมฆฝนที่ก่อตัวมีขนาดใหญ่และหนา ทำให้แสงแดดจากพระอาทิตย์ไม่สามารถผ่านทะลุ กลุ่มเมฆฝนได้ จึงทำให้กลุ่มเมฆฝนเป็นสีดำ ทำให้บรรยากาศมืดเหมือนกลางคืน ตัวอย่างเช่น เช้าวันที่ 29 สิงหาคม 2565 มีกลุ่มเมฆฝนก่อตัวทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา และเคลื่อนเข้าปกคลุมกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งเป็นกลุ่มเมฆฝนที่มีขนาดใหญ่ และหนา
สำหรับบริเวณที่กลุ่มเมฆฝนก่อตัวจะเกิดทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น และเมื่อกลุ่มเมฆฝนที่ก่อตัวมีขนาดใหญ่และหนา ดังนั้นทำให้แสงแดดจากพระอาทิตย์ไม่สามารถผ่านทะลุกลุ่มเมฆฝนได้ จึงทำให้กลุ่มเมฆฝนเป็นสีดำ และบรรยากาศมืดเหมือนกลางคืน
ที่มา : ห้องสมุด ผอต.กขค.คปอ