จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมียนมา ขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองมันดาเลย์ ประเทศเมียนมา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวรับรู้แรงสั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทยตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมไปถึงกรุงเทพมหานครที่ห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณ ประมาณ 1,100 กิโลเมตร
ด้วยระยะห่างมากกว่า 1,000 กิโลเมตรตั้งแต่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวจนถึงกรุงเทพมหานคร ทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าทำไมถึงรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ไกลขนาดนี้ ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ได้ออกมาไขข้อข้องใจดังนี้
แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาดรุนแรงมากรวมถึงเกิดจาก "รอยเลื่อนสะกาย" ซึ่งเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ ที่สามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปได้ไกล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี ชั้นดินอ่อน เช่น ที่ราบภาคกลางของไทย ทำให้คลื่นแผ่นดินไหวขยายตัวและรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ชัดเจน
นอกจากนี้ ความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวยังขึ้นอยู่กับ ตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน โดยเมื่อคลื่นแผ่นดินไหววิ่งผ่าน หินแข็ง คลื่นจะมีความเร็วสูง แต่เมื่อผ่าน ชั้นดินเหนียวกรุงเทพฯ (Bangkok clay) ความเร็วของคลื่นจะลดลง ส่งผลให้ ความสูงคลื่น (amplitude) เพิ่มขึ้น เพื่อรักษาพลังงานของคลื่นให้คงที่ จึงทำให้บริเวณกรุงเทพฯ และพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้รุนแรงขึ้น
ไขข้อข้องใจ แผ่นดินไหวเมียนมา ทำไมสะเทือนถึงไทย
ส่วนที่หลายคนกังวลใจว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวแล้วมีอาฟเตอร์ช็อก Aftershock ออกมาอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบหรือจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวอีกระลอกหรือไม่นั้น ทางกรมทรัพยากรธรณีชี้แจงว่า
ส่วนคำถามที่ว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้หรือไม่นั้น กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า แผ่นดินไหวเป็น ภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่สามารถคำนวณ ขนาด, สถานที่, และเวลา ของการเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างแม่นยำ
ทั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณีได้ติดตามสถานการณ์และเตรียมพร้อม ให้การสนับสนุนข้อมูลกับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ประชาชนต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ปฎิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี โทร. 02 621 9702-5