thansettakij
เช็คฝุ่นPM 2.5 ปกคลุม กทม. เปิด 12 เขตเกินค่ามาตรฐานสูงสุด

เช็คฝุ่นPM 2.5 ปกคลุม กทม. เปิด 12 เขตเกินค่ามาตรฐานสูงสุด

27 มี.ค. 2568 | 01:23 น.
อัปเดตล่าสุด :27 มี.ค. 2568 | 01:36 น.

ค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ กทม. วันนี้ พบค่าเฉลี่ย 40.7 มคก./ลบม. ภาพรวมฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง เปิด 12 อันดับมีค่าฝุ่นสูงสุด

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 27 มีนาคม 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ย PM 2.5 กรุงเทพมหานคร 40.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

ทั้งนี้ภาพรวมคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพระดับสีส้ม และฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง

12 เขต ค่าฝุ่น PM2.5 สูงสุดใน กทม.

  1. เขตบึงกุ่ม 59.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  2. เขตสาทร 56.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  3. เขตลาดกระบัง 51.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  4. เขตวังทองหลาง 49.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  5. เขตบางนา 48 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  6. เขตบางพลัด 46.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  7. เขตพญาไท 46.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  8. เขตธนบุรี 45.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  9. เขตบางขุนเทียน 45.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  10. เขตจตุจักร 45.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  11. เขตคลองสาน 44.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  12. เขตราษฎร์บูรณะ 44.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

กรุงเทพเหนือ

37.7 - 45.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพตะวันออก

35.7 - 59.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพกลาง

35.9 - 49.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพใต้

37.3 - 56.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนเหนือ

39.7 - 46.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนใต้

36.2 - 45.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ข้อแนะนำสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์