ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โพสต์ข้อความว่า
ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ยังเร็วไปที่จะสรุปว่าองค์การอนามัยโลกตั้งชื่อว่า Clade
คำว่า “เคลด” มาจากภาษาอังกฤษว่า Clade ตามความหมายแล้วแปลว่ากลุ่มย่อย
เช่นไวรัสไข้หวัดใหญ่ A H1N1 ก็จะแบ่งกลุ่มย่อยเป็น clade ต่างๆ ไวรัสตับอักเสบซี ก็เช่นเดียวกัน
เมื่อแบ่งสายพันธุ์ตาม genotype แล้วกลุ่มย่อยก็จะเป็น clade ต่างๆ
โดยจะใช้ตัวอักษรและตัวเลข เช่น 1a, 1b หรือ A1, B1, B2
ฝีดาษวานรก็เช่นเดียวกัน ถ้าแบ่งกลุ่มย่อย (clade) จะเป็นสายพันธุ์แอฟริกากลางกับ แอฟริกาตะวันตก
องค์การอนามัยโลกเองไม่อยากให้ใช้คำว่าแอฟริกามากกว่า เลยใช้คำว่า clade A, clade B ที่จริงก็ใช้อยู่แล้ว
การตั้งชื่อไวรัสโควิด คือ SARS CoV-2 แต่ชื่อโรค ใช้คำว่าโควิด 19 COVID-19 ที่มาจากคำว่า Coronavirus disease
โดยถอดคำ Co-Vi-D มาจาก Corona Virus Disease ชื่อยังเห็นเค้าโครงของโรค และเติมเลข 19
เพราะพบครั้งแรกในปี 2019 ซึ่งในอนาคตอาจจะมีโรคที่คล้ายกันก็ใส่ตัวเลขที่ต่างกัน
การตั้งชื่อโรค แต่เดิมใช้ชื่อบุคคลที่ค้นพบ ใช้ชื่อสถานที่ เช่นไข้หวัดใหญ่สเปน ใช้ชื่อโฮสต์ เช่นไก่หวัดนก ไข้หวัดหมู
และเพื่อไม่ให้เป็นตราบาป หรือความน่ารังเกียจ โรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น จึงจะไม่มีการใช้ชื่อดังกล่าว และมากำหนดคำให้เหมาะสม
ฝีดาษวานรก็เช่นเดียวกันเกิดจากไวรัสในกลุ่ม POX ชื่อโรคนี้น่าจะต้องขึ้นต้นด้วยตัว “P” มากกว่าที่จะไปตั้งชื่อเป็น clade ที่หมายถึงกลุ่มย่อยของไวรัสแต่ละชนิด คอยติดตามดูต่อไป