ม.แม่ฟ้าหลวง จับมือเอกชน เพิ่มมูลค่า “กัญชง” รุกอุตสาหกรรมสปา-เวลเนส

01 ก.ย. 2565 | 11:30 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ก.ย. 2565 | 18:37 น.

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.)จับมือภาคเอกชน ขยายการวิจัยและพัฒนา “กัญชง” เพิ่มมูลค่าสู่นานาชาติ ในผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ใช้ในอุตสาหกรรมสปาและเวลเนส 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  (มฟล.) ร่วมพิธีลงนามบันทีกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) กับ  นายทรงวุฒิ ตรีเทพจุลยากูล กรรมการ บริษัท  เฮอร์เบิล คิง เวลเนส จำกัดขยายการวิจัยและพัฒนา  เพิ่มมูลค่าให้กับ “กัญชง” ส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสปาและเวลเนส 

 

โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ จัดทำขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับบริษัท เฮอร์เบิล คิง เวลเนส จำกัด 

ม.แม่ฟ้าหลวง จับมือเอกชน เพิ่มมูลค่า “กัญชง” รุกอุตสาหกรรมสปา-เวลเนส

ตามที่ กฎกระทรวงประกาศเรื่อง การขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ครอบครอง  ซึ่งยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) เมื่อวันที่ 30  ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยมีเนื้อหา กล่าวถึง การขออนุญาตผลิต จาหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์   

 

เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ (2) เพื่อการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณี วัฒนธรรม  หรือวิถีชีวิต และใช้ในครอบครัวเท่านั้น ทั้งนี้มีพื้นที่ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกินหนึ่งไร่ (3) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม (4) เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ (5) เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย  หรือปรับปรุงพันธุ์ และ (6) เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง

ม.แม่ฟ้าหลวง จับมือเอกชน เพิ่มมูลค่า “กัญชง” รุกอุตสาหกรรมสปา-เวลเนส

นอกจากนี้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจ  จานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562

 

โดยมีสาระสำคัญ กล่าวถึงลักษณะของพืชยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (hemp) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. sub sp. Sativa อันเป็น ชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) 

ม.แม่ฟ้าหลวง จับมือเอกชน เพิ่มมูลค่า “กัญชง” รุกอุตสาหกรรมสปา-เวลเนส

ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง ทุกส่วนของพืชกัญชง เช่น ใบ ดอก  ยอด ผล ลำต้น ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) และลักษณะเป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด สามารถได้รับอนุญาตให้ทั้งหน่วยงานรัฐ ประชาชนทั่วไป  นิติบุคคล รวมถึงเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ทางยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหารและเครื่องสำอางได้  

 

โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทำให้เป็นโอกาสในการ ขยายการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสปาและเวลเนส เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กัญชงและสร้าง รายได้ให้กับประเทศอีกด้วย 

ม.แม่ฟ้าหลวง จับมือเอกชน เพิ่มมูลค่า “กัญชง” รุกอุตสาหกรรมสปา-เวลเนส

ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปอย่างมีรูปธรรมที่ชัดเจน ประกอบกับเป็นการส่งเสริมเพื่อสนับสนุน กระบวนการ การศึกษาวิจัยและการพัฒนากัญชง ในการนี้หน่วยงานทั้งสองจึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบความร่วมมือทางด้านการวิจัยร่วมกัน เพื่อการพัฒนากัญชง ในผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ใช้ในอุตสาหกรรมสปาและเวลเนส ต่อไป