ข่าวเศร้าวงการบันเทิง หลัง “จรัญ งามดี" หรือ นายจันหนวดเขี้ยว นักแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน อายุ 49 ปี ได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน หลังจากนักแสดงดัง มีอาการวูบหมดสติในขณะที่กำลังทำสวน แม้ว่าทางญาติจะรีบช่วยเหลือนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ก็ไม่สามารถยื้อชีพจรกลับมาได้ และเสียชีวิตในที่สุด
เบื้องต้นแพทย์สันนิษฐานว่า “จรัญ งามดี" หรือ นายจันหนวดเขี้ยว เสียชีวิตจากหัวใจวายเฉียบพลัน โดยภายหลังจากเสียชีวิตลงแล้ว ได้มีผู้เข้าไปแสดงความเสียใจในเฟซบุ๊กของ "จรัญ งามดี" เป็นจำนวนมาก
อ่านข่าว : อาลัย "จรัญ งามดี"เสียชีวิตกะทันหัน ปิดตำนาน"นายจันหนวดเขี้ยว"
สำหรับกรณีของภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือ Heart Attack นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งอาการร้าย ที่เป็นภัยสุขภาพใกล้ตัว โดยที่ผ่านมา นพ.วิจารณ์ เทวธารานันท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ให้ข้อมูลสำคัญของภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ไว้น่าสนใจ ดังนี้
โรคหัวใจ มักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่ม กว่าจะรู้อาจจะสายเกินไป เมื่อเกิด ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือ Heart Attack มักเป็นอย่างฉุกเฉิน ไม่รู้ตัวมาก่อน อาจเกิดในคนที่ดูปกติไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจมาก่อน
โดยเฉพาะเมื่อพบอาการผิดปกติไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพราะทุกนาทีมีค่าต่อชีวิตสิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิต คือ การวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว และได้รับการรักษาอย่างทันเวลา
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีภาวะดังนี้
ทั้งหมดนี้ คือสาเหตุสำคัญมาจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว หรือตีบตัน เมื่อเส้นเลือดตีบ ส่งผลให้เลือดไม่ไปเลี้ยงหัวใจในที่สุด
ดังนั้น ควรตรวจสุขภาพหัวใจ อาทิ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือ ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST) หรือ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ควบคู่กับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้มีอายุตั้งแต่ 35 - 40 ปีขึ้นไป เมื่อพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรทำการรักษาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตนตามคำแนะนำแพทย์
อาการผิดปกติของโรคหัวใจ ควรหมั่นสังเกตตนเอง หรือคนรอบข้าง เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือน “หัวใจวายเฉียบพลัน” ดังนี้
หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบนั่งพัก และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะอาการเหล่านี้...เป็นส่วนหนึ่งของ “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”
ผลที่จะเกิดขึ้นกับภาวะ หัวใจวายเฉียบพลัน หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะมีความเสี่ยงเกิดอาการ ดังต่อไปนี้
สำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและทันเวลา “ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้” หากพบผู้หมดสติให้ควรปฏิบัติ ดังนี้
วิธีการช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน