เจาะโมเดลดูแล "ผู้สูงอายุ" ของโรงพยาบาลไทย

13 พ.ย. 2565 | 07:00 น.
อัปเดตล่าสุด :13 พ.ย. 2565 | 15:01 น.

เปิดโมเดลโรงพยาบาลเอกชนไทยรับมือ "สังคมผู้สูงอายุ" เปิดบริการดูแลสุขภาพการควบสุขภาพใจ พร้อมดึงเทคโนโลยีซัพพอร์ตการดูผู้สูงวัยทางไกล เตรียมพร้อมการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged Society) ในอนาคต

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ "สังคมผู้สูง"อายุอย่างสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย ทำให้ผู้คนเริ่มวิตกกับหลายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งสมาชิกครอบครัวที่มีเวลาให้ผู้สูงอายุน้อยกว่าที่ควร ทั้งนี้สามารถแบ่งระดับของผู้สูงอายุได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดสังคม โดยเป็นผู้ที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงดี สามารถออกไปทำงาน ใช้ชีวิตโดยอิสระ มีสังคมเพื่อนฝูง การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้จึงแทบไม่แตกต่างจากการดูแลสุขภาพทั่วไป 

เจาะโมเดลดูแล "ผู้สูงอายุ" ของโรงพยาบาลไทย

กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ซึ่งการติดบ้านอาจไม่ได้แปลว่าเขาไม่อยากออกไปไหน แต่ด้วยสภาพร่างกายหรือปัจจัยอื่น ๆ ทำให้การใช้ชีวิตโดยอิสระเหมือนคนกลุ่มแรกเป็นไปได้ยากกว่า และกลุ่มผู้สูงอายุที่ติดเตียง คือผู้ที่มีความลำบากในการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐาน เช่น การเข้าห้องน้ำ อาบน้ำแต่งตัว รับประทานอาหาร ซึ่งต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

 

นายแพทย์ชวลิต หล้าคำมี แพทย์ผู้ชำนาญการประจำศูนย์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลยันฮี เปิดเผยว่า ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าชีวิตในสังคมร่วมสมัยที่คร่อมด้วยสังคมผู้สูงอายุนั้น มีแนวคิดหลาย ๆ อย่างที่ต่างไปจากยุคสมัยก่อนหน้านี้มาก เช่นเดียวกับภาพไม่สู้ดีของที่พักคนชราก็เริ่มเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมแล้ว “ซึ่งเหตุผลหลักก็เป็นเพราะสังคมเองก็ต้องรับมือกับ Aging Society ที่แทบจะเป็น Super-aged Society อยู่รอมร่อแล้วนี่แหละ” 

นายแพทย์ชวลิต หล้าคำมี แพทย์ผู้ชำนาญการประจำศูนย์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลยันฮี

แน่นอนว่าการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องยาก และจะยากขึ้นอีกหากผู้สูงอายุนั้นป่วยเรื่องโรคเรื้อรัง มุมมองของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจึงไม่ใช่แค่การฝากคนที่เรารักให้ไม่ต้องโดดเดี่ยวเท่านั้น แต่มันยังเป็นการเยียวยาคนสำคัญของเราได้เต็มที่ พร้อมให้เขาได้ใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวโดยไม่ป่วยไข้

 

ทั้งนี้รพ.ยันฮี ได้พลิกโฉม “ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลยันฮี” ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการดูแลอย่างมืออาชีพกับแนวคิด “ดูแลผู้สูงวัย อุ่นใจ ใกล้แพทย์” ดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ครอบคลุมทุกมิติใกล้ชิดดุจญาติมิตร พร้อมตั้งเป้าขยายพื้นที่ด้วยการสร้างอาคารหลังใหม่ นอกจากมีแพทย์ประจำศูนย์เป็นแพทย์อายุรกรรม และทีมพยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ที่ให้การดูแลด้วยความชำนาญและมีมาตรฐานอย่างเป็นกันเอง

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลยันฮี

แล้วหลัก ๆ อีกด้านหนึ่งที่ศูนย์ฯ ให้ความสำคัญ จะเป็นเรื่องของจิตใจ เราจะมีจัดกิจกรรมสันทนาการเพื่อลดภาวะเครียดหรือภาวะซึมเศร้า และให้ความรักความอบอุ่นอย่างเป็นกันเองสม่ำเสมอ เสมือนทุกคนเป็นคนในครอบครัว เพื่อรองรับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged Society) ในอนาคต

นพ.สันติ เอื้อนรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมุต

ขณะที่นพ.สันติ เอื้อนรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมุต เปิดเผยว่า  โรงพยาบาลวิมุตต้องการรุกตลาดบริการสุขภาพเต็มที่ตามวิสัยทัศน์การเป็น “โรงพยาบาลแบบองค์รวม” เพื่อมอบบริการทางการแพทย์แบบครอบคลุม พร้อมรองรับตลาดบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย ในยุคที่เมืองไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ 

เจาะโมเดลดูแล "ผู้สูงอายุ" ของโรงพยาบาลไทย

โดยเปิดตัว ViMUT Life Link บริการแจ้งเตือนและช่วยเหลือฉุกเฉินจากบ้าน ตอบโจทย์ครอบครัวสมัยใหม่ที่ทุกคนต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เสมือนมีแพทย์และพยาบาลคอยดูแลผู้สูงวัยตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยค่าบริการเฉลี่ยเพียงเดือนละพันกว่าบาท มั่นใจได้รับความนิยมในกลุ่มคนเมืองที่ต้องการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อให้ได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที มีทั้งแบบปุ่มกดฉุกเฉินภายในบ้านและปุ่มกดฉุกเฉินแบบพกพา ซึ่งอุปกรณ์จะส่งสัญญาณแจ้งเหตุไปยังทีมแพทย์ฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โดยเครื่องจะติดต่อเจ้าหน้าที่พร้อมส่งตำแหน่ง GPS ของผู้ป่วยแบบอัตโนมัติ เพื่อประสานให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

เจาะโมเดลดูแล "ผู้สูงอายุ" ของโรงพยาบาลไทย

“สำหรับโรงพยาบาลวิมุต เราได้ให้ความสำคัญเรื่องการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุในทุกสภาวะ ตั้งแต่ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ไปจนถึงผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ผู้ที่นอนติดเตียง รวมถึงผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยในระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคที่เป็นอยู่”