มีข่าวเหตุการณ์สะเทือนใจคนวัยทำงาน ช่วงต้นสัปดาห์เรื่องราวของชายคนหนึ่งที่เสียชีวิตเพราะทำงานหนัก โดยเพจดังระบุข้อความว่า "ใครว่าทำงานจนตายไม่มีจริง" ระบุเนื้อหาว่า ชายคนดังกล่างเขาทำงานเกินเวลาสัปดาห์หนึ่งเกิน 5 วัน บางสัปดาห์ 7 วันรวด พอลาลาป่วย ก็โดนโทรตามกลับมาทำงาน จนกระทั่งเสียชีวิตเพราะหัวใจล้มเหลว
เรื่องนี้ร้อนไปถึง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเฉพาะประเด็นการให้ทำงานล่วงเวลาของชายคนดังกล่าวในฐานะลูกจ้าง ว่ายินยอมหรือไม่ หากนายจ้างบังคับ ถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จะมีโทษหนักถึงจำคุก
ระยะเวลาทำงานตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานระบุไว้ คือ
“1 สัปดาห์ต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมง”
ปัญหาการทำงานหนักจากการจำนวนชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไป เมื่อผสานกับปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่น สภาพแวดล้อมการทำงาน และภาวะกดดัน ย่อมมีผลต่อร่างกายและจิตใจของคนทำงาน
มีข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นตัวสะท้อนสภาพแวดล้อมการทำงานคนไทยได้เมื่อเทียบกับทั่วโลก Kisi บริษัทเทคโนโลยีให้คำปรึกษาด้านการทำงาน ที่ได้ทำผลสำรวจทั่วโลกในหัวข้อ “Cities with the Overworked” หรือเมืองที่มีประชากรที่มี "ชั่วโมงการ ทำงาน" ที่ยาวนาน และชีวิตไลฟ์สไตล์ขาดความสมดุลมากที่สุด
ผลสำรวจล่าสุดของ Kisi ในปี 2022 พบว่า กรุงเทพ ประเทศไทย
ติดอันดับ 5 เมืองที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก
การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากเมืองที่ขึ้นชื่อว่าที่มีอัตราการจ้างงานสูง และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิต ประกอบไปด้วย 51 เมืองในสหรัฐฯ และ 49 เมืองอื่นๆทั่วโลก
10 อันดับเมืองที่คนทำงานหนักที่สุดปี 2022 (Cities with the Overworked)
1.Cape Town, South Africa (50)
2.Dubai, UAE (61.23)
3.Kuala Lumpur, Malaysia (66.02)
4.Sao Paulo, Brazil (66.57)
5.Bangkok, Thailand (70.73)
6.Buenos Aires, Argentina (73.15)
7.Montevideo, Uruguay (74.59)
8.Hong Kong, Hong Kong (77.11)
9.Memphis, USA (77.12)
10.St. Louis, USA (77.15)
Kisi ยังสำรวจร่วมกับหัวข้อ “Cities with the Best Work-Life Balance” พบว่าประเทศส่วนใหญ่อยู่ในแถบยุโรป และสแกนดิเนเวีย
10 อันดับเมืองที่คนทำงานมีสมดุลชีวิตมากที่สุด 2022 (Cities with the Best Work-Life Balance)
1.Oslo, Norway (100)
2.Bern, Switzerland (99.46)
3.Helsinki, Finland (99.24)
4.Zurich, Switzerland (96.33)
5.Copenhagen, Denmark (96.21)
6.Geneva, Switzerland (95.82)
7.Ottawa, Canada (95.51)
8.Sydney, Australia (94.04)
9.Stuttgart, Germany (93.79)
10.Munich, Germany (93.65)
Kisi เริ่มทำการศึกษามาตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบัน เปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับความหนักของงาน การสนับสนุนจากองค์กร ข้อกฎหมาย และคุณภาพชีวิตของแรงงาน ทั้งนี้เกณฑ์การพิจารณาเพื่อให้คะแนน มี 3 ปัจจัย ได้แก่
1.ความเข้มข้นของงาน (Work Intensity)
2.สังคมและองค์กร (Society and Institutions)
3.ความสามารถในการใช้ชีวิต (City Liveability)
มีข้อมูลจาก จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ International Labour Organization (ILO) ว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ ความหนักของการทำงาน คือ "ช่วงระยะเวลาในการทำงาน"
หากใครที่ทำงานตั้งแต่ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไปจะถือว่าเป็นคนที่ทำงานหนัก (Overworked)
**คิดง่ายๆ คือ การทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ เฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมงขึ้นไป
ส่วนระยะเวลาการทำงานที่สมดุล คือ ต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์
**คิดเป็นวันละ 8 ชั่วโมง และทำงานเพียง 5 วันต่อสัปดาห์
เมื่อปี 2022 องค์การอนามัยโลก (WHO) เคยเปิดเผยข้อมูลว่า การทำงานล่วงเวลา ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวและเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และนำไปสู่พฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ และทำให้ชีวิตไร้สมดุล
คนที่ทำงาน 55 ชั่วโมงขึ้นไปในแต่ละสัปดาห์
แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไป เราอาจต้องทำงานหนักมากขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน แต่อย่าลืมว่า "การสร้างสมดุลชีวิตกับการทำงาน" หรือ Work-Life Balnce ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากเราบริหารจัดการได้ และทุกฝ่ายช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ไม่กดดันเกินไป ก็จะถือว่า งานก็จะออกมามีประสิทธิภาพ คนทำงานก็จะมีความสุขในชีวิตมากขึ้น
ที่มา : https://www.getkisi.com/work-life-balance-2022#table