มะเร็ง เป็นโรคร้ายที่คุกคามสุขภาพประชากรทั่วโลกรวมถึงคนไทย รัฐบาลไทยโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ร่วมรณรงค์ให้คนไทยดูแลสุขภาพโดยเพิ่มโอกาสในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มต้นให้ได้รับการรักษาโดยเร็วเพื่อการรักษาให้หายขาดได้
ภายใต้ระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) โดยจัดสิทธิประโยชน์เพื่อดูแลผู้มีสิทธิให้เข้าถึงบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง 4 รายการ ดังนี้
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หลักเกณฑ์เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
หลักเกณฑ์เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
ตรวจคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก
หลักเกณฑ์เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
ตรวจค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2
หลักเกณฑ์เงื่อนไข
นอกจากนี้ สปสช. ได้ดำเนินนโยบาย "โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม" (Cancer anywhere) บริการหนึ่งในนโยบายเพื่อยกระดับบัตรทองที่ได้เริ่มเมื่อ 1 มกราคม 2564 ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็วเพิ่มขึ้น ผลดำเนินการในช่วง 2 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565 มีผู้ป่วยเข้ารับบริการโรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม
หลักเกณฑ์ เงื่อนไขเข้ารับบริการ
ทั้งนี้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า ในแต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี
5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย
5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในหญิงไทย
ที่ผ่านมา สปสช.ได้จัดสิทธิประโยชน์บริการที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ "บัตรทอง 30 บาท" อย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมบริการป้องกัน การรักษา ทั้งการผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ฮอร์โมน ทั้งตามโปรโตคอลการรักษา 20 ชนิด (Protocol) และการรักษามะเร็งทั่วไป โดยเฉพาะการเข้าถึงยามะเร็งที่มีราคาแพงที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการรักษา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่