สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565 โดยรายงานสถานการณ์ด้านสุขภาพ พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อลดลง
ขณะที่การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ลดลงทุกโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด โรคหัวใจ/หัวใจขาดเลือด/หัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดในสมอง ลดลงในทุกโรค ขณะที่อัตราการตาย พบว่า โรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 โดยมีอัตราการตาย 128.50 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าโรค NCDs อื่น ๆ มากกว่า 2 เท่า
โรคซึมเศร้า-ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
ด้านสุขภาพจิต พบ ผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายที่มีอัตราเพิ่มขึ้น จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 358,267 คนจาก 355,537 คนในปี 2563 นอกจากนี้ อัตราการฆ่าตัวตายในปี 2564 อยู่ที่ 7.38 รายต่อประชากรแสนคนเพิ่มขึ้นจากในช่วงปี 2547 - 2563 ที่ทรงตัวอยู่ในระดับ 5 - 6 รายต่อประชากรแสนคน
ทั้งนี้ กลุ่มอายุที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 15 - 34 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น โดยมีปัจจัยหลัก คือ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ในสถานที่ทำงาน หรือในโรงเรียน รวมทั้งภาวะป่วยกายหรือใจเรื้อรัง การใช้สุราและสารเสพติด และภาวะเครียดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ
3 ปัจจัยด้านสุขภาพที่ต้องให้ความสำคัญ
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดข้อแนะนำในประเด็นด้านสุขภาพที่คนไทยควรให้ความสำคัญในระยะต่อไป 3 เรื่อง ดังนี้
1. การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
แม้ว่าปัจจุบันคนไทยจะได้รับวัคซีนแล้ว 53.48 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 80.4% ของประชากรทั้งประเทศ (ข้อมูล ณวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566) แต่การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งคาดว่า ปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยมากกว่า 27.5 ล้านคน
ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ อาทิสายพันธุ์ XBB.1.5, BQ.1 และ BQ.1.1 ที่ระบาดในสหรัฐอเมริกา สายพันธุ์ BA.5.2 และ BF.7 ที่ระบาดในจีนมากขึ้น ซึ่งประชาชนต้องรักษาระดับการป้องกันโรคส่วนบุคคล
รวมถึงเข้ารับวัคซีนและวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น และเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง
2. การส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ประชาชนมีความเร่งรีบและเคร่งเครียดในการใช้ชีวิตมากขึ้น รวมถึงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้นด้วย เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
ดังนั้น ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ ดังนี้
3. การหามาตรการป้องกันมลพิษทางอากาศที่ยั่งยืน
การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนโดยจะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งมีแนวทางการแก้ไข ดังนี้
นอกจากนี้ การปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน จะเป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้อย่างยั่งยืนต่อไป