ความร้อนสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายได้ โดยเฉพาะภาวะ "ฮีทสโตรก" หรือโรคลมตาย ที่อันตรายถึงขั้นทำเสียชีวิต
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสเฟซบุก๊ส่วนตัว (ธีระวัฒน์เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความเกี่ยวกับความร้อนที่อันตรายโดยไม่ทันรู้สึกตัว
หมอธีระวัฒน์ อธิบายเป็นรายข้อ ประกอบด้วย
- ความร้อนจริงที่กระทบร่างกาย จะมากกว่าอุณหภูมิที่วัดในสถานที่ เนื่องจากต้องควบรวมกับความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) ด้วย ดังนั้นดัชนีความร้อนจริง (heat index) จะเป็นตัวเลขจริง ซึ่ง สูงกว่าธรรมดามาก โดยในประเทศไทยมีความชื้นสัมพัทธ์สูงอยู่แล้วมากกว่า 70% (ตามรูป ) และก่อให้ เกิดอันตรายในหลายระดับ
- อาการของฮีทสโตรกสามารถออกมาได้ทันที เป็นระดับ 4 โดยไม่แสดงอาการตามลำดับ ที่เริ่มมี ผิวบวมแดงตะคริว หรือ เพลีย โดยหมดสติและมีอาการทางหัวใจ และแม้แต่การมีอาการตามระดับ มาถึงระดับที่รุนแรงที่สุดนั้น ผิวหนังกลับแห้ง ไม่มีเหงื่อ และชีพจรในระยะแรกจะเร็วและเบา คล้ายช็อค แต่เมื่อถึงระดับสี่ ชีพจรแม้ว่าเร็วแต่กลับหนักแน่น
ความร้อนอันตรายที่ไม่ทันรู้สึกตัว เสี่ยงทั้งหัวใจ-สมอง
- ความร้อนภายในตัว (core temperature) วัดจากทางทวาร (rectal temperature)จะแม่นยำกว่าการวัดทั่วไป
- จากความร้อนในตัว จะกระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย และส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดและทำให้เลือดข้นหนืด รวมทั้งทำให้ผนังลำไส้รั่วปลดปล่อยให้พิษในลำไส้เข้า กระแสเลือดและกระตุ้นให้การอักเสบรุนแรงขึ้นไปอีก