รู้จัก โควิดสายพันธุ่ใหม่ XBB.1.16 อาร์คทูรัส

18 เม.ย. 2566 | 07:07 น.
อัปเดตล่าสุด :18 เม.ย. 2566 | 07:30 น.

รู้จัก โควิดสายพันธุ่ใหม่ XBB.1.16 อาร์คทูรัส มาจากไหน? อันตรายกว่าเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ที่ผ่าน มาหรือไม่? 

สงกรานต์ 2566 ผ่านไป เเต่โควิดกลับไม่ได้หายไปไหน ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่  XBB.1.16 ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8-14 เม.ย. พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากเดิม 5 ราย โดยก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนมีนาคมพบผู้ติดเชื้อแล้ว 22 ราย รวมเป็น 27 ราย  เเละ โควิด XBB.1.16 มาจากไหน? อันตรายกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์ที่ผ่านๆ มาหรือไม่? 

โควิดสายพันธุ์ย่อย XBB.1.16

  • ถูกพบครั้งแรกจากการสุ่มตรวจตัวอย่างเชื้อโควิดในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนมกราคม 2566
  • เชื้อโควิด XBB.1.16 เป็นโควิดลูกผสม หรือไฮบริด ของสายพันธุ์ BA.2.10.1 กับ BA.2.75
  • ถือเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในการสังเกตการณ์ขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค. ที่ผ่านมา โดย ระบุว่า อยู่ระหว่างสังเกตการณ์สายพันธุ์นี้ เพราะมีศักยภาพสูงทำให้จำเป็นต้องเฝ้าระวังให้ดี
  • โควิดอาร์คทูรัส สามารถแพร่ระบาดได้เร็วขึ้น แต่ขณะนี้ยังไม่มีเครื่องบ่งชี้ว่าจะนำไปสู่การทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงกว่าเดิม
  • ผลการทดสอบยังพบว่า โควิดสายพันธุ์นี้มีฤทธิ์ต้านทานแอนติบอดีโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • องค์การอนามัยโลกแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ตรวจพบผู้ป่วยสายพันธุ์ XBB.1.1.16 กว่า 800 คน ใน 22 ประเทศ ส่วนใหญ่ในอินเดีย และแทนที่สายพันธุ์ที่กำลังระบาดในปัจจุบันก่อนเพิ่มเป็นกว่า 3,000 คนทั่วโลก จนถึงกลางเดือน เม.ย.

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ถูกตั้งชื่อเรียกสั้นๆ ว่า "Arcturus อาร์คทูรัส" คนไทยเรียก "ดาวดวงแก้ว" เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ เพราะถูกจัดให้เป็นเชื้อโควิดที่ต้องจับตา

อาการของโควิด XBB.1.16 

อาจมีอาการหลายอย่าง เช่น เจ็บคอ คัดจมูก มีไข้ อ่อนเพลีย ไอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และไม่สบายท้อง

ในขณะที่มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ติดเชื้อโควิด XBB.1.16 มีอาการเคืองตาและตาแดง ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เคยพบมาก่อนในผู้ที่ติดเชื้อโควิดในการระบาดระลอกก่อนหน้านี้