จากกรณีที่ สารไซยาไนด์ สารพิษอันตรายที่กำลังถูกพูดถึงและปรากฏเป็นข่าวดังในขณะนี้ พาไปทำความรู้จักกับ "สารไซยาไนด์" (cyanide) ชนิดนี้กันอีกรอบ หากได้รับสารประเภทนี้เข้าสู่ร่างกายจะมีอาการอย่างไร และหากพบเห็นหรือมีอาการน่าสงสัยว่า เราถูกสารพิษดังกล่าวจะมีวิธีการปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นกันได้อย่างไรบ้าง
ไซยาไนด์ คืออะไร
ไซยาไนด์ (cyanide) เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงซึ่งสามารถพบได้หลายรูปแบบ
ก๊าซไฮโดรเจน ไซยาไนด์ (hydrogen cyanide)
โพแทสเซียม ไซยาไนด์ (potassium cyanide)
หากกินดิบโดยไม่ผ่านความร้อนทำให้สุกเสียก่อนเมื่อร่างกายเผาผลาญจะทำให้ไซยาไนด์ในพืชเหล่านี้ออกมาเป็นพิษสู่ร่างกาย
โซเดียมไซยาไนด์ (sodium cyanide)
อาการเมื่อได้รับพิษจาก "ไซยาไนด์" หากได้รับพิษจากไซยาไนด์ จะปรากฏอาการขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้
อาการไม่รุนแรง
อาการรุนแรง
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลันส่วนมากจะได้รับไซยาไนด์เข้าสู่ทางร่างกายด้วยการหายใจ การกิน และการซึมเข้าสู่ผิวหนัง หากได้รับไซยาไนด์เข้าไปปริมาณมากจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหายใจในระดับเซลล์ ทำให้เซลล์เสียชีวิตได้
นอกจากอาการเฉียบพลันแล้วผู้ป่วยบางรายก็อาจได้รับไซยาไนด์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจนเกิดการสะสมและก่อให้เกิดพิษเรื้อรังได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ และเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ มักพบกับคนที่ทำงานในโรงงานแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และคนงานขัดเครื่องเงิน
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารไซยาไนด์
ได้รับทางการหายใจ
ได้รับผ่านทางผิวหนัง
ได้รับทางดวงตา
ได้รับทางปาก
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ เมื่อพบผู้ป่วยที่ได้รับพิษของไซยาไนด์ไม่ว่าจะทางใดก็ตามควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพราะหากได้รับในปริมาณมากจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว