ใกล้เข้าสู่ช่วง "เปิดเทอม 2566" กระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบาย ผอ.โรงเรียนทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับเปิดเทอม 15 พ.ค. ทั้งความปลอดภัย สถานที่ วางแผนหลักสูตร ขณะที่สถานการณ์โควิดในปี 2566 มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะพบการระบาดของไข้หวัดใหญ่คู่กับโควิด-19 โดยคาดว่าการระบาดจะทำให้พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากกว่าในปีก่อนที่จะมีโควิด-19 อาจจะพบได้หลายหมื่นราย
สำหรับการเตรียมการก่อนเปิดเทอม 2566 กรมควบคุมโรค ได้ออกคำแนะนำในการป้องกันโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจในสถานศึกษา เฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถม
นักเรียน แนะนำให้สวมหน้ำกากอนามัย เฉพาะกรณี
- เด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรั้ง โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ภาวะอ้วน HIV โรคมะเร็ง ฯลฯ
- เมื่อมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ หวัด เจ็บคอ มีเสมหะ ปวดศีรษะ
- เมื่อจำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่สาธารณะ รวมถึงการเดินทางโดยใช้บริการสาธารณะ หรือ เข้าไปในสถานที่เสี่ยง แออัด ปิดทึบ เช่น โรงพยาบาล ขนส่งสาธาณะ สถานดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ
แนะนำไม่ควรสวมหน้ากากอนามัย
- เด็กอายุต่ำกว่ำ 5 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี
- ขณะเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- ขณะเรียนวิชาที่ต้องใช้การอ่านสีหน้า หรืออ่านปาก
- อยู่ในห้องเรียนที่มีการระบายอากาศดี
เด็กกลุ่มพิเศษ
(เด็กกลุ่มที่มีโรคทางสมองหรือโรคทางระบบหายใจ เป็นกลุ่มเสี่ยง (608) เป็นกลุ่มที่ต้องระวังหากรับเชื้อจะมีอาการรุนแรงได้
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปสถานที่สาธารณะโดยเฉพาะในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท
- ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย ขณะทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง หรืออยู่ในสถานที่เปิดอากาศถ่ายเทดี
- ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดเด็กกลุ่มนี้ควรสวมหน้ากากอนามัยขณะทำกิจกรรมกับเด็ก
สถานศึกษา
- ตรวจคัดกรองเด็กและบุคลากร ก่อนเข้าเรียน (คัดกรองอาการเจ็บป่วย)
- แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ (เน้นให้ผู้ปกครองนำเด็กกลับบ้าน)
- รักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อม สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ของเล่น
- อำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย และสนับสนุนให้เด็กและบุคลากรใช้ เช่น จุดบริการล้างมือ ด้วยสบู่ น้ำสะอาด เจลแอลกอฮอล์ฯลฯ
- สถานศึกษาสามารถพิจารณาให้เด็กสวมหน้ากากอนามัยได้ ตามความเหมาะสม ตามดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษานั้นๆ