พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี กุมารแพทย์โรคทางเดินหายใจ เปิดเผยผ่านเพจเฟสบุ๊ก หมอแพมชวนอ่าน โดยระบุถึงเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาการไอในเด็ก ว่า
หมอแพม บอกว่า ช่วงนี้เด็กป่วยกันมาก เวลาเด็กติดเชื้อทางเดินหายใจ อาการที่หายช้าที่สุด คือ "อาการไอ" ทำให้พ่อแม่เป็นกังวล
ทั้งที่ไม่มีไข้ ไม่มีน้ำมูก เล่นได้ กินอาหารได้ปกติ แต่ทำไมลูกไม่หายไอเสียที
แบบไหนที่เรียกว่า"ไอเรื้อรัง"
หมอแพมบอกว่า แน่นอนว่าเด็กแค่ละคนใช้เวลาในการหายไม่เท่ากัน
50% ของเด็กที่มีอาการไอ จากการติดเชื้อทางเดินหายใจจะหายภายใน 2 สัปดาห์
90% หายภายใน 3 สัปดาห์ (ข้อมูลจาก systematic review ตีพิมพ์ BMJ 2013;347:f7027 ข้อมูลจาก 12 การศึกษา เด็กประมาณ 1700 คน)
ดังนั้น ในทางปฏิบัติหมอจะหาสาเหตุว่าเป็นการไอเรื้อรัง เมื่อการไอนั้น เป็นนานเกิน 3 สัปดาห์โดยที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นเลย
แม้จะไอที่ต่อเนื่องตามหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจ “ไม่เกิน 2 สัปดาห์” แต่หากลูกสามารถเล่นได้ ยังร่าเริงดี (แต่เสียงไอ อาจทำให้แม่หงุดหงิดได้บ้างว่าทำไมไม่หายสักที)
เด็กไม่มีไข้ ไม่ได้มีอาการหอบเหนื่อยไม่มีเบื่ออาหาร คุณแม่สามารถดูแลเองที่บ้านได้ แต่ถ้ามีอาการที่ไม่ชอบมาพากล แม่ก็สามารถพามาปรึกษากุมารแพทย์ได้ค่ะ
สาเหตุของการไอเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็ก
สาเหตุที่พบบ่อยมาก มี 3 สาเหตุ
1.ไอจากภาวะหลอดลมไว
(เด็กเป็นโรคหืด หรือ มีภาวะหลอดลมไวตามหลังการติดเชื้อ RSV)
เด็กมักจะไอมากขึ้นเวลาอากาศเปลี่ยนแปลง (เป็นนักพยากรณ์อากาศประจำบ้าน)
ไอกลางคืนมากกว่ากลางวัน หรือไอหลังจากวิ่งออกกำลังจนเหนื่อย เมื่อได้รัยยาขยายหลอดลมอาการไอมักจะน้อยลง
2.ไอจากการที่มีน้ำมูก หรือเสมหะไหลลงคอ ซึ่งสาเหตุที่น้ำมูกไหลลงคอ แล้วไอเกิน 4 สัปดาห์ ที่พบบ่อยได้แก่
3.สัมผัสควันบุหรี่ในบ้าน ควันบุหรี่นั้น มีสารที่สามารถทำให้ทางเดินหายใจบวมได้โดยตรงโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
การสูดสารที่อยู่ในควันบุหรี่เข้าไปทำให้ทางเดินหายใจบาดเจ็บ บวม และมีเสมหะได้สบายๆเลย
ดังนั้น ถ้าลูกมีอาการไอเรื้อรัง ต้องรู้ประวัติว่ามีคนสูบบุหรี่ในบ้านหรือไม่? คำแนะนำของหมอในฐานะหมอโรคปอดคือ ถ้าคนที่สูบบุหรี่ ไม่สามารถเลิกได้จริงๆ ไม่ควรสูบที่บ้านเลย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณบ้าน (คือสูบให้เสร็จจากที่ทำงานก่อนกลับบ้านเลย)
กลับถึงบ้านแล้ว ก่อนจะเล่นกับลูกให้เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อน เพราะสารที่อยู่ในควันบุหรี่ ยังอบอวลอยู่บนเสื้อผ้าที่ใส่ เด็กก็เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจได้เหมือนกันค่ะ
ดีที่สุด เลิกสูบจะดีทั้งกับตัวเอง และลูก
การรักษาการไอ
หมอแพมบอกว่า จงใจเขียนว่า “บรรเทา” อาการไอ ไม่ใช่ยาแก้ไอ ไม่มียาใด หยุดอาการไอ ได้ชั่วข้ามคืน เพราะการไอ เป็นกลไกในการปกป้องทางเดินหายใจของร่างกาย
หัวใจสำคัญในการรักษาอาการไอ คือ ความชื้นในทางเดินหายใจต้องเพียงพอ ดังนั้น ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ
ในเด็กเล็กที่เป็นหวัด การไอตอนกลางคืน มักจะเกิดจากน้ำมูกไหลลงคอ ไปกระตุ้นตัวรับสัญญาณไอที่หลังคอ และหลอดลม
ดังนั้น ต้องลดปริมาณน้ำมูกที่จะไหลลงไป ด้วยการหยดน้ำเกลือ ดูดน้ำมูกให้ลูก หรือล้างจมูกแล้วแต่แม่ถนัด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้หายใจคล่องนอนหลับได้ดี ยังลดการไอของลูกด้วย
ยาที่ช่วยลดอาการไอในเด็ก
มีกลุ่มเดียวที่ใช้คือ กลุ่มยาละลายเสมหะ (mucolytic)ซึ่งการออกฤทธิ์ของยา คือทำให้ความเหนียวของเสมหะลดลง ทำให้ทางเดินหายใจขนส่งไปทิ้งได้ง่ายขึ้นแค่นั้นเอง
ยาไม่ได้ช่วยให้การหลั่งเสมหะ ของทางเดินหายใจลดลง และการศึกษาผลของยา ไม่ได้มีผลชัดเจนว่าทำให้อาการไอดีขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจว่า รพ.รัฐบาล ยาในกลุ่มนี้ เป็นยาที่ต้องจ่ายเงินเองเพราะผลการศึกษาไม่บ่งชี้ว่ามีประโยชน์ในการรักษา จะไม่เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ
แต่ถ้าถามหมอว่า ควรใช้มั้ย คำตอบก็คือ ให้ได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป
การกินยากลุ่มนี้ ก็ทำให้ “ความแรง”ของการไอลดลงเพราะเสมหะเหลวขึ้นนั่นเอง แต่ไม่ช่วยเรื่องความถี่ และระยะเวลาหาย
อาจช่วยให้เด็กสบายขึ้น เป็นยารักษาตามอาการ กินตอนมีอาการ และหยุดยาเมื่ออาการดีขึ้น
ยาขยายหลอดลม ถ้าเด็กไม่ได้มีภาวะหลอดลมตีบ ไม่ได้ช่วยอะไร แถมยังมี side effect คือใจสั่น
แต่เด็กเล็กจะบอกเราไม่ได้ ดังนั้น จะแสดงออก คือ งอแงมาก ไม่นอน ดังนั้น พวกยาแก้ไอที่ผสม 3 ตัวยา (แก้ไอ ลดน้ำมูก ยาขยายหลอดลม) ให้ใช้ยาด้วยความระมัดระวัง
เรากำลังรักษาลูกไม่ได้รักษาความกังวลใจของแม่ การได้กินยาเยอะ กินยาแรง ก็ไม่ได้ดีเสมอไป
น้ำผึ้ง มีการศึกษามากมายที่บอกว่าน้ำผึ้งช่วยลดอาการไอในเด็กได้ ในการวิจัยจะแนะนำให้ในเด็กอายุ มากกว่า 1 ปี
ด้วยเหตุผลว่า น้ำผึง เป็นสารที่มาจากธรรมชาติ ไม่ได้ sterile ดังนั้น การทดลองกับเด็กเล็กจะเสี่ยง ให้ซื้อน้ำผึ้งที่มี อย. อย่าซื้อตามตลาด ซึ่งเราไม่แน่ใจเรื่องความสะอาด
Dose ที่ใช้ กิน 2.5 ml ผสมน้ำ (หรือจะทำเป็นน้ำผึ้งมะนาวก็แล้วแต่) กินวันละ 1-2 ครั้ง
นอกจากนี้ก็เป็นการปฏิบัติตัว สวมเสื้อผ้าที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น งดการกินน้ำเย็น น้ำแข็ง ไอศกรีม