ท้องผูกถือว่าเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอาการท้องผูกเรื้อรัง เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพในระยะยาวที่ต้องระมัดระวัง
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปไขคำตอบเกี่ยวกับอาการท้องผูก
นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า สาเหตุของภาวะท้องผูก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
นายแพทย์กิตติ ชื่นยง นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า ภาวะท้องผูกส่วนใหญ่ที่เกิดจากกลุ่มปฐมภูมิ เช่น ลำไส้แปรปรวน ลำไส้เฉื่อย หรือการเบ่งถ่ายผิดวิธีนั้นเป็นกลุ่มที่ปลอดภัย
แต่หากเป็นกลุ่มที่มีสาเหตุจากโรค หากไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ทันเวลา อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ เช่น มะเร็งลำไส้ เป็นต้น
ภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่มีโรคอันตรายแอบแฝง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของร่างกายและจิตใจได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ ควรป้องกันและรักษาภาวะท้องผูกให้หายเป็นปกติ หรืออย่างน้อยต้องให้มีอาการน้อยที่สุด
สำหรับการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องผูกในกรณีที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับมีอาการน้อย ไม่มีอาการสัญญาณเตือน อาจปรับเปลี่ยนสุขนิสัย ได้แก่
หากมีภาวะท้องผูกในกรณีต่อไปนี้ ได้แก่
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า ท้องผูก คือ ภาวะการถ่ายอุจจาระยาก หรือห่างผิดปกติ ร่วมกับอุจจาระที่มีลักษณะแข็งหรือแห้งผิดปกติด้วยเช่นกัน
ส่วนท้องผูกเรื้อรัง หมายถึง ภาวะท้องผูกที่เป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 3 เดือน ภาวะท้องผูกเป็นภาวะที่พบบ่อยทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้ถึง 25% โดยพบได้ในกลุ่มช่วงอายุ 20 - 40 ปีบ่อยที่สุดถึง 57% เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย
นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ ขาดอาหารที่มีกากใยสูง ผู้ที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย และที่สำคัญคือผู้ที่มีภาวะเครียดทางอารมณ์