จากสถานการณ์ "ไข้เลือดออก" (Dengue fever) ในปี 2566 ประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะระบาดหนักอีกครั้ง โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนมิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยแล้วกว่า 45,000 คน
วันนี้ด้วยเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า พื้นที่ที่เราพักอาศัยอยู่หรือกำลังจะเดินทางไปนั้น มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกหรือไม่เพื่อป้องกันหรือเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองย่อมเป็นสิ่งที่ดี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค วิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์ม "ทันระบาด" เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกแบบเชิงรุก สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รู้จักแอปฯ รู้ทัน คือ อะไร
แอปพลิเคชัน "รู้ทัน" ได้รับการต่อยอดมาจากแอปฯ "ทันระบาด"ที่รวบรวมข้อมูลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่น่าสนใจ รวมถึงสถานการณ์การระบาดเพื่อเป็นเครื่องมือให้ประชาชนใช้ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ รวมอยู่ในแอปฯเดียวกัน
สนันสนุนการใช้งานแอปพลิเคชัน โดยบริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด
ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ หัวหน้าทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เนคเทค สวทช. เปิดเผยว่า แอปพลิเคชัน "รู้ทัน" ให้เป็นเครื่องมือแจ้งเตือนความเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกตามพิกัดที่ผู้ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้น พร้อมคำแนะนำในการป้องกันตน
นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังดูข้อมูลในรูปแบบแผนที่ ตั้งแต่ระดับตำบลถึงระดับภาพรวมประเทศ เพื่อแจ้งเตือนคนรู้จักหรือวางแผนเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว ยากันยุง ก่อนเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงได้
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของ แอปฯ "รู้ทัน"
นอกจากนี้แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกระบาดแล้ว ยังสามารถแจ้งเตือนความเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น
สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปฯเพื่อใช้งานได้ที่ Play Store และ App Store
ทั้งนี้ เมื่อปี 2559 เนคเทค สวทช. ได้ร่วมกับกรมควบคุมโรค เปิดตัวแพลตฟอร์ม "ทันระบาด" เพื่อสนับสนุนการวางแผนป้องกันและควบคุมการระบาดของ "โรคไข้เลือดออก" ที่มีประสิทธิภาพและเท่าทันสถานการณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 4 แอปพลิเคชันหลัก
1.ทันระบาดสำรวจ
เพื่อช่วยรวบรวมข้อมูลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย และรายงานความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายให้กับพื้นที่แบบเรียลไทม์
2.ทันระบาดติดตาม
เพื่อนำเสนอสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ร่วมกับความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย บนแผนที่ และตาราง ตามมิติที่สนใจ
3.ทันระบาดรายงาน
เพื่อช่วยสรุปชุดข้อมูลสำคัญที่มีการใช้งานเป็นประจำออกมาในรูปแบบรายงานอย่างอัตโนมัติ
4.ทันระบาดวิเคราะห์
เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองที่สนใจ