2 ตุลาคม 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 19 กันยายน 2566 มีรายงานผู้ป่วย 185,216 ราย เสียชีวิต 4 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กเล็กจนถึงเด็กวัยเรียน กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด ได้แก่
สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ได้ โดยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลล์แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ยังคงมีความจำเป็นในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะประชากร 7 กลุ่ม ได้แก่
1.หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
2.เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปีทุกคน
3.ผู้มีโรคเรื้อรัง ดังนี้
4.ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
5.โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
6.โรคอ้วน (น้ำหนัก> 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
7.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
เพื่อป้องกันอาการรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ โดยสามารถเข้ารับบริการได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใกล้บ้าน โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. โทร. 1330 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
นอกจากนี้หากสงสัยว่า ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ควรสวมหน้ากากอนามัย เนื่องจากระยะนี้เป็นการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ติดต่อกันจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย แพร่เชื้อผ่านการไอจามรดกัน หรือได้รับเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ
โดยหลังจากได้รับเชื้อจะมีไข้สูง ไอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และเจ็บคอ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ หลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ ในกลุ่มเด็กอาจพบอาการระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง บางรายสามารถหายเองได้ใน 5-7 วัน แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษาทันที