ผู้ป่วยโรค NCDs เฮ พบหมอมือถือผ่าน "โทรเวชกรรม" ได้แล้ว

19 ธ.ค. 2566 | 22:10 น.

ผู้ป่วยโรค NCDs พบหมอบนมือถือได้ผ่าน "โทรเวชกรรม"  DMS Telemrdicine โดยกรมการแพทย์หนุนผลิตภาพยนตร์สั้น เจาะกลุ่มเป้าหมาย ตั้งเป้าช่วยแก้ปัญหา สร้างแรงบันดาลใจ และถูกต้อง

แม้ผู้คนจำนวนมากจะหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น แต่ก็มีไม่น้อยที่ละเลยการดูแลตนเอง จึงทำให้ประเทศไทยยังมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เรียกว่ากลุ่มโรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งทางการแพทย์จัดเป็น “กลุ่มโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อน” หากไม่ปรับการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเสียสุขภาพไหรือม่ตรวจสุขภาพเป็นประจำก็มักจะไม่ทราบ และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา จนโรคค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น กลายเป็นอาการเรื้อรังและรักษาไม่หายในที่สุด

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)  จึงมีมาตรการเชิงรุกในการดูแลประชาชนตั้งแต่การส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู เพื่อช่วยลดการเกิดโรค หากเป็นโรคแล้วก็สามารถลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดภาระในการดูแลผู้ป่วย และลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาได้ โดยแนวทางสำคัญ คือ การเพิ่มความรอบรู้ทางสุขภาพให้แก่ประชาชน หรือ Health Literacy

ผู้ป่วยโรค NCDs เฮ  พบหมอมือถือผ่าน \"โทรเวชกรรม\" ได้แล้ว

โดยกรมการแพทย์ได้นำเทคโนโลยี "โทรเวชกรรม" (Telemedicine) และระบบติดตามดูแลสุขภาพผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Health; mHealth) มาดูแลผู้ป่วยโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อน ด้วยการให้คำปรึกษา แนะนำการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค ที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้บริการแก่ประชาชนผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และจัดการสุขภาพของตัวเองได้ แต่เนื่องจากประชาชนมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน อาจส่งผลต่อการเข้าถึงและเข้าใจ

กรมการแพทย์จึงได้ดำเนิน “โครงการความเข้าใจบริการโทรเวชกรรม และการพัฒนาสื่อเพิ่มความรอบรู้ทางสุขภาพของประชาชน เรื่องโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อน ตามภารกิจกรมการแพทย์” ผลิตสื่อสาธารณะในรูปแบบภาพยนตร์สั้น เพื่อให้ความรู้ทางสุขภาพในเรื่องโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อนอย่างถูกต้องและเชื่อถือได้ให้แก่ประชาชน ครอบคลุมทั้งการให้บริการด้วยระบบโทรเวชกรรมและการบริการของโรงพยาบาล

มีกลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค คนดูแลและคนรอบข้างผู้ป่วย หรือแม้แต่ผู้สนใจดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อให้สามารถเข้าถึง เข้าใจ และใช้ความรู้มาดูแลสุขภาพตนเองและคนใกล้ชิดได้

โครงดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างกรมการแพทย์ ศูนย์บริการวิชาการ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)

ผู้ป่วยโรค NCDs เฮ  พบหมอมือถือผ่าน \"โทรเวชกรรม\" ได้แล้ว นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ ผู้ดูแลโครงการฯ เล่าว่า ดีเอ็มเอส เทเลเมดิซีน (DMS Telemedicine) หรือ โทรเวชกรรม เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงโควิด 19 แพร่ระบาดอย่างรุนแรง เพื่อใช้ในการติดตามดูแลอาการผู้ป่วยโควิด และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อนได้

ทั้งโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมอง การบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และโรคด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากฝุ่น PM 2.5 ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา การติดตามอาการ ไปจนถึงการประเมินภาวะสุขภาพเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ และการเสียชีวิต 

 

นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและลดความยุ่งยาก ที่ต้องมาต่อคิวรอรักษาที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ๆ อีกด้วย กรมการแพทย์จึงได้วางแผนจัดทำโครงการเพื่อสื่อสารกับสาธารณะให้รับรู้ เข้าใจ และใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลาย

สำหรับโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส.

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.พนม คลี่ฉายา จากศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยโครงการดังกล่า เล่าแนวคิดในการจัดทำภาพยนตร์ว่ายึดหลักการสำคัญ 3 ข้อ คือ

1. ต้องช่วย “แก้ปัญหา” (Solution) ให้กับผู้ชมให้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยจากโรคยุ่งยากซับซ้อน หรือเป็นโซลูชันที่ช่วยลดความเสี่ยงของคนที่ยังไม่เป็นโรคและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเพื่อให้การจัดทำภาพยนตร์มีเนื้อหาที่ตอบโจทย์ เข้าใจปัญหา เข้าใจความต้องการของผู้ป่วยมากที่สุด จึงเริ่มจากทำวิจัยก่อนโดยได้สัมภาษณ์เชิงลึก (in-sight) กลุ่มตัวอย่าง ทั้งผู้ป่วย ผู้ที่มีความเสี่ยง คนดูแล แพทย์ พยาบาล

เพื่อหา Paint Point หาความต้องการ และพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคยุ่งยากซับซ้อน และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการรักษา พร้อมทั้งสำรวจ (survey) สถานการณ์การใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพโทรเวชกรรมในภาพรวมทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น

2.  ต้องมีเสน่ห์ น่าติดตามชม (Aesthetic) สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) และกระตุ้น ให้ปฏิบัติ (Call for Action) ด้วยการแปลงเนื้อหาความรู้ทางการแพทย์ให้เข้าใจง่าย สอดคล้องกับความต้องการ ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีเสน่ห์ น่าติดตาม สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชม และจบเรื่องด้วยการกระตุ้นให้ “ทำทันที” ด้วยการให้ข้อมูลการเข้าถึงบริการโทรเวชกรรม

3. นอกเหนือจากความน่าติดตาม น่าสนใจของเนื้อหาแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้อง “ถูกต้อง” (Validity) ตามหลักการแพทย์ โดยจะมีการตรวจสอบทั้งเรื่องราว บทบรรยาย ภาพ เสียง เทคนิคการตัดต่อ จากแพทย์ที่ปรึกษาโครงการ และต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ก่อนการเผยแพร่ โดยได้มีการนำข้อมูลจากงานวิจัยมาพัฒนาเป็นภาพยนตร์

ผู้ป่วยโรค NCDs เฮ  พบหมอมือถือผ่าน \"โทรเวชกรรม\" ได้แล้ว ตัวอย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่ใช้การรักษายาวนาน ต่อเนื่อง มีทั้งโอกาสที่รักษาหายและไม่หาย ผู้ป่วยมักจะรู้สึกหดหู่ สิ้นหวัง และหมดกำลังใจ ส่งผลให้อาการยิ่งทรุดเร็ว และการจัดทำภาพยนตร์จะไม่นำเสนอเนื้อหาไปในทำนองว่า “มะเร็งรักษาหาย” แต่เน้น “การอยู่ร่วมกับมะเร็งอย่างเข้าใจ” และ “เสริมสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วย” ช่วยให้ผู้ป่วยมีมุมมองเชิงบวก สามารถมีความสุขได้แม้จะเจ็บป่วยในระยะรุนแรง ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากโครงเรื่องจริง

อย่างการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด Pain Point ของผู้ติดยา คือ รู้สึกผิด รู้สึกอายที่จะเข้ารับการบำบัด  การจัดทำภาพยนตร์จึงนำเสนอเนื้อหาเริ่มตั้งแต่การโน้มน้าวให้ผู้ป่วยตัดสินใจที่จะเข้าสู่กระบวนการรักษา พร้อมเปลี่ยนมุมมองของสังคมและคนรอบข้างที่มีต่อผู้เสพยาว่า ไม่ใช่ผู้น่ารังเกียจ น่ากลัว แต่เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคทั่วไป ต้องให้กำลังใจ และให้โอกาส พร้อมแนะวิธีดูแลหลังจากรักษาหายแล้วเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาอีก