เปิดต้นทุน "กฟผ." รับซื้อไฟภาคเอกชน รายไหนได้เท่าไหร่ เช็คที่นี่

08 ม.ค. 2568 | 04:39 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ม.ค. 2568 | 04:40 น.

เปิดต้นทุน "กฟผ." รับซื้อไฟภาคเอกชน รายไหนได้เท่าไหร่ เช็คที่นี่ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลคำตอบไว้ให้หมดแล้ว ทั้งรายใหญ่ และรายเล็ก หลังทักษิณประกาศทุบค่าไฟเหลือ 3.70 บาทต่อหน่วยปีนี้

ลดค่าไฟเหลือ 3.70 บาทต่อหน่วย คำพูดจากนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวระหว่างขึ้นเวทีปราศรัยระหว่างลงพื้นที่หาเสียงให้ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย พรรคเพื่อไทย โดยระบุว่า ปีนี้ค่าไฟลงแน่ เพราะเห็นตัวเลขแล้วทุบได้

ขณะที่ล่าสุดนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุถึงแนวทางการปรับลดค่าไฟให้เหลือ หน่วยละ 3.70 บาท รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร ว่า การปรับลดค่าไฟคือสิ่งที่รัฐบาลเน้นย้ำอยู่แล้วว่าต้องการทำให้ค่าไฟถูกลง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อค่าครองชีพพื้นฐานของประชาชนเอง หรือเพื่อให้แข่งขันในเวทีโลก เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะถือเป็นการลดต้นทุน หากรัฐบาลสามารถเจรจาเกี่ยวกับการลดต้นทุนได้ทุกฝ่ายร่วมมือกันก็จะเกิดประโยชน์กับประเทศ ฉะนั้นรัฐบาลมุ่งเน้นในเรื่องนี้อยู่แล้ว ราคา 3.70 บาทที่สื่อมวลชนพูดก็ถือเป็นเป้าหมายที่อยากทำให้ได้  

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับรายละเอียดที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน ซึ่งถือว่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดค่าไฟให้ได้ 3.70 บาทต่อหน่วยตามเป้าหมายของรัฐบาล พบว่า
 

มกราคม - เมษายน 2568    

ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPPs)

บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (KEGCO)

  • ปริมาณ 1,679.80 ล้านหน่วย
  • ราคา 2.7269 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 4,580.57 ล้านบาท

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GPSC)

  • ปริมาณ 271.09 ล้านหน่วย
  • ราคา 5 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 1,354.29 ล้านบาท

เปิดต้นทุน "กฟผ." รับซื้อไฟภาคเอกชน รายไหนได้เท่าไหร่ เช็คที่นี่

บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (RATCH)

  • ค่าใช้จ่าย 3,128 ล้านบาท

บริษัท โกลว์ ไอพีพี จำกัด (GLOW IPP)

  • ค่าใช้จ่าย 575.13 ล้านบาท
     

บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (BLCP)

  • ปริมาณ 3,231.60 ล้านหน่วย
  • ราคา 1.5048 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 4,862.93 ล้านบาท

บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ จำกัด (GPG)

  • ค่าใช้จ่าย 1,711.09 ล้านบาท

บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด (RPCL)

  • ค่าใช้จ่าย 1,090.72 ล้านบาท

บริษัท GHECO-ONE หน่วยที่ 1 (GOC-T1)

  • ปริมาณ 1,804.32  ล้านหน่วย
  • ราคา 2.9393 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 5,303.35 ล้านบาท

บริษัท กัลฟ์ เจพี หนองแซง จำกัด (GNS)

  • ปริมาณ 650.77 ล้านหน่วย
  • ราคา 4.4644 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 2,905.33 ล้านบาท

บริษัท กัลฟ์ เจพี อุทัย จำกัด (GUT)

  • ปริมาณ 177.28 ล้านหน่วย
  • ราคา 13.3457 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 2,365.92 ล้านบาท

บริษัท กัลฟ์ เอสอาร์ซี จำกัด (GSRC)

  • ปริมาณ 6,166.76 ล้านหน่วย
  • ราคา 2.5319 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 15,613.91    ล้านบาท

บริษัท กัลฟ์ พีดี จำกัด (GPD)

  • ปริมาณ 6,067.73 ล้านหน่วย
  • ราคา 2.5316 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 15,361.16 ล้านบาท

บริษัท หินกอง เพาเวอร์ (HKP)

  • ปริมาณ 3,836.89 ล้านหน่วย
  • ราคา 2.5014 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 9,597.48 ล้านบาท

ผู้ผลิตรายเล็ก (SPPs)

ประเภทการรับประกันว่าจะจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบตามจำนวนในสัญญา ถ้าไม่ทำตามเราจะถูกปรับเงิน (Firm)

  • ปริมาณ 14,183.12 ล้านหน่วย
  • ราคา 3.5722 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 50,664.30 ล้านบาท

สัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบไม่บังคับปริมาณซื้อขายไฟฟ้า (Non-Firm)

  • ปริมาณ 2,988.95 ล้านหน่วย
  • ราคา 3.3158 บาทต่อหน่วย
  • ค่าใช้จ่าย 9,910.88 ล้านบาท