รัฐบาลทุ่มงบฯ 6.4 หมื่นล้าน พัฒนาการแพทย์ พิชิตสุขภาวะที่ดีของปชช.

04 ม.ค. 2567 | 13:13 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ม.ค. 2567 | 14:37 น.

รัฐบาล ผ่า "งบฯ67" สำหรับพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์ เดินหน้าแผนยกระดับการบริการครบวงจร ให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง อาทิ “บัตร ปชช. ใบเดียว” รักษาทุกที่

“การพัฒนาระบบการแพทย์” จัดอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ของรัฐบาล ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี มีความมั่นคงทางสุขภาพ รวมถึงในด้านของการบริการทางการแพทย์ที่ครบวงจร มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รองรับ ซึ่งครอบคลุมไปถึงด้านของสาธารณสุขด้วยเช่นเดียวกัน

ในไฟล์ข้อมูล "งบประมาณฉบับประชาชน ประจำปีงบฯ พ.ศ. 2567" ที่ทางรัฐบาลทำการเผยแพร่นั้น ได้แบ่งสัดส่วนงบประมาณในวงเงิน 64,670.07 ล้านบาท สำหรับดำเนินการพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์ด้านต่างๆ รวมทั้งหมด 4 ด้าน หลักๆ ดังนี้

1.พัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิและเครือข่ายระบบสุขภาพ (งบประมาณรวม 28,811.02 ล้านบาท)

คลินิกหมอครอบครัว

  • ไม่น้อยกว่า 2,750 ทีม เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงในระดับพื้นที่ และลดความแออัดในโรงพยาบาล 

สนับสนุนค่าป่วยการและพัฒนาศักยภาพ อสม. และ อสส.

  • 1.09 ล้านคน 26,070.12 ล้านบาท และเพิ่มค่าป่วยการจากอัตรา 1,000 บาทเป็น 2,000 บาท

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

  • เพื่อการพัฒนาด้านสุขภาพเชิงรุก 4,275 แห่ง 2,740.90 ล้านบาท

2.พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ (งบประมาณรวม 6,349.58 ล้านบาท)

ผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข

  • กระทรวงสาธารณสุข (พยาบาล/บุคลากรทางการแพทย์) ไม่น้อยกว่า 26,133 คน 2,304.11 ล้านบาท
  • กระทรวงการอุดมศึกษา (แพทย์) ไม่น้อยกว่า 4,453 คน 2,099.69 ล้านบาท

กระจายแพทย์ไปสู่ชนบท

  • เพื่อให้มีบุคลากรทางการแพทย์เพียงพอในพื้นที่ห่างไกล ไม่น้อยกว่า 7,527 คน 1,945.78 ล้านบาท

บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ 3.เสริมสร้างความมั่นคงทางสุขภาพและบริการทางการแพทย์ครบวงจร

พัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการวินิจฉัยและป้องกันโรค 390.12 ล้านบาท

  • พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรค
  • จัดทำข้อมูลอ้างอิงทางห้องปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ
  • พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ และเครือข่ายห้องปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ

พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ

  • พัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัล “บัตรประชาชนใบเดียว” รักษาทุกที่
  • พัฒนาระบบบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยสุขภาพ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและการส่งต่อ
  • พัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชไม่น้อยกว่า 60 คู่สาย

4.พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข

เพิ่มการเข้าถึงและการรักษาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์ที่ให้บริการได้อย่างรวดเร็ว

  • พัฒนาระบบรูปแบบเชิงนวัตกรรมการบริบาลการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่บ้านและชุมชน
  • พัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลทางไกลโดยใช้ telemedicine, telepharmacy, telenursing, video call และระบบบริการของทีมแพทย์ประจำครอบครัว

 

แหล่งที่มา : งบประมาณฉบับประชาชน ประจำปีงบฯ พ.ศ. 2567