5 มีนาคม 2567 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง "โควิด-19 แนวทางการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา" ว่า
ในระยะแรก โควิด 19 มีความรุนแรงมาก จึงมีการเข้มงวดการปฏิบัติ ใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ หยุดอยู่บ้าน ปิดบ้านปิดเมือง การกักตัว จะกักผู้ป่วยจนรักษาหายและไม่ติดเชื้อ หรือเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน รวมทั้งผู้สัมผัสโรค ก็มีการกักตัวถึง 14 วัน
เมื่อโรคมีการเปลี่ยนแปลง ลดความรุนแรงลง แนวทางการปฏิบัติก็เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน โรคไม่ต่างกับไข้หวัดใหญ่ การปฏิบัติของผู้ป่วย และการดูแลประชาชนทั่วไป ก็เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและความรุนแรงของโรคที่ลดลง
1.ความต้องการของวัคซีนวัดน้อยลง (ส่วนใหญ่ติดเชื้อกันแล้ว) แนะนำเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรัง สูงอายุ มีโรคประจำตัว ที่เป็นแล้วจะรุนแรง
2.ผู้ป่วยโรคโควิด 19 โรคทางเดินหายใจ ควรหยุดอยู่บ้าน ระยะเวลาให้ถือเอาเมื่ออาการหายแล้ว หรือไข้ลงแล้ว 1 วัน หลังจากนั้นเข้าสู่สังคมหรือมาทำงาน ให้ปฏิบัติตนลดการแพร่กระจายของโรค โดยใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ ดูแลเรื่องระยะห่าง อีก 5 วัน
3.การใส่หน้ากากอนามัย ไม่ได้มีการบังคับ แต่ขอให้ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจทุกคน ควรจะใส่ จะไอหรือจามต้องระวังการแพร่กระจายเชื้อ ปิดปาก จมูก ทำความสะอาดล้างมือ คนปกติธรรมดาจะแนะนำให้ใส่เมื่ออยู่ในที่มีคนหนาแน่น โรงพยาบาล
4.การตรวจ ATK จะตรวจเมื่อมีอาการ ในผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นต้องตรวจซ้ำ
4 การปฏิบัติโดยทั่วไปก็เหมือนกับโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง