แพทย์หญิงคอนคอน โมลิน่า Head of Image Guided Therapy Systems ฟิลิปส์ เอเชีย-แปซิฟิก (APAC) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกระบุว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ทั่วโลก และยังเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเอเชีย
ส่งผลให้ความต้องการในการดูแลรักษาโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น ฟิลิปส์ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว เราจึงมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลรักษาโรคหัวใจ เพื่อนำเสนอโซลูชั่นส์ในการดูแลรักษาแบบองค์รวม ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลการรักษา
เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งบุคลากรทางการแพทย์และตัวผู้ป่วยให้มากที่สุด และเพื่อผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น โดยภายในงานประชุมฯ ครั้งนี้เราจะมีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็นและความต้องการในกระบวนการทำงานของแพทย์ เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนานวัตกรรมของเราอีกด้วย
จากผลสำรวจ Philips Future Health Index (FHI) 2024 ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการยกระดับด้านสาธารณสุขให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยมากขึ้น โดยผลสำรวจพบว่า 71% ของผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในวงการสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกบอกว่าความล่าช้ากำลังเป็นปัญหาสำคัญในวงการสาธาณสุข
ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการรอคิวนัดหมาย ความล่าช้าในการรอเพื่อเข้ารับการรักษา หรือความล่าช้าและข้อจำกัดในการเข้าถึงการตรวจคัดกรองและวินิจฉัย ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในวงการสาธารณสุขกำลังให้ความสำคัญกับการนำระบบอัตโนมัติ ข้อมูลเชิงลึก และเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งโซลูชันส์สำหรับการดูแลรักษาโรคหัวใจที่นำมาอัพเดทภายในงานฯ ครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะมารับมือกับปัญหาดังกล่าว
นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก ในสหรัฐอเมริกาทุกๆ 33 วินาที จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 1 คน
ในขณะที่รายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าประเทศไทยจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ และเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มากขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการดูแลรักษา
โดยในการประชุมฯ ครั้งนี้ ฟิลิปส์ได้นำเสนอโซลูชันส์ด้านตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย ที่เน้นในด้านภาพคมชัด แสดงผลได้หลากหลายรูปแบบตามที่แพทย์ต้องการ ลดการฉีดสารทึบสีเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มากขึ้น และยังมีเทคโนโลยีในการนำทางที่ชัดเจนระหว่างการทำหัตถการ รวมถึงระบบการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลแบบอัตโนมัติ
ที่จะมาช่วยสนับสนุนการทำงานให้กับุคลากรทางการแพทย์ให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เราหวังว่าฟิลิปส์จะเป็นส่วนหนึ่งที่นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเข้าสู่ระบบสาธารณสุขไทย ให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้มากขึ้น”
อัลตร้าซาวด์หัวใจ หรือการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) มีบทบาทสำคัญในการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สำหรับเทคโนโลยีการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจล่าสุดจะเป็นแบบ 3 มิติ ซึ่งทำงานร่วมกับโซลูชันส์ AI
เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดและสามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถเรียกดูผลตรวจ สร้างภาพและรายงานการตรวจซ้ำได้ ทั้งจากการสแกนโดยตรง หรือระหว่างผู้ใช้งาน นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์และประมวลผลภาพจากอัลตร้าซาวด์หัวใจ จะช่วยให้แพทย์มีความมั่นใจในการวินิจฉัยโรคหัวใจ และสามารถระบุประเภทของโรคหัวใจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้กระบวนการทำงานของแพทย์รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การจำลองภาพหัวใจ 3 มิติแบบเสมือนจริง (Photorealistic 3D rendering ) ช่วยให้แพทย์โรคหัวใจเข้าใจภาวะหัวใจของผู้ป่วยแต่ละคนได้ง่ายและดีขึ้น โดยภาพ 3 มิติจะใช้สี แสง เงา และการไล่ระดับสี
เพื่อแสดงภาพการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ และผู้ใช้งานสามารถปรับระดับได้ตามต้องการในบริเวณที่ต้องการตรวจดูเป็นพิเศษ หรือบริเวณที่พบความผิดปกติ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงนี้ช่วยให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำ ประหยัดเวลา และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้
การสร้างภาพหัวใจจากเทคโนโลยีอัลตร้าซาวด์มาทำงานร่วมกับโซลูชันส์ของเครื่อง Image Guided Therapy นี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับทีมแพทย์ในการทำหัตถการสำหรับโรคหัวใจที่มีรูปร่างผิดปกติ (Structural Heart) เนื่องจากสามารถมองเห็นความผิดปกติของหัวใจและการไหลเวียนของเลือดได้ชัดเจน
และโซลูชันส์ที่รวมเอาภาพจากอัลตร้าซาวด์หัวใจมาเข้ากับการถ่ายภาพเอ็กซเรย์แบบเรียลไทม์ไว้ด้วยกันนี้ ยังช่วยแสดงผลภาพที่ชัดเจนและรวดเร็วในการนำทางขณะที่แพทย์ทำหัตถการที่ซับซ้อนได้ เพื่อความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นของของผู้ป่วย
ดร. คริส แอนโทนี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ Structural and Advanced Multimodality Imaging โรงพยาบาล The Alfred and Epworth ในเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า การจำลองภาพหัวใจเป็นรากฐานสำคัญในการวินิจฉัยและการตัดสินใจทางคลินิกที่แม่นยำของการดูแลรักษาโรคหัวใจ เทคโนโลยีการสร้างภาพอัตโนมัติจึงเข้ามาช่วยลดกระบวนการทำงานและความเครียดให้กับทีมแพทย์ได้
เพราะช่วยเพิ่มความมั่นใจทางคลินิกและผลลัพธ์ที่ดีกว่าสำหรับผู้ป่วย สำหรับเทคโนโลยีของฟิลิปส์ อย่าง 3D Multi-Planar Reconstruction และ Echo Navigator จะมาช่วยให้การรักษาโรคหัวใจรูปร่างผิดปกติก้าวหน้าไปอีกขั้น และสร้างมาตรฐานการดูแลรักษาแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่ผู้ป่วยของเราได้”
สำหรับการผ่าตัดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CAD) ในผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังร่วมด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ปัจจุบันสามารถใช้โซลูชันส์แบบ ultra-low contrast percutaneous coronary intervention (ULC-PCI) หรือการฉีดสารทึบสีที่น้อยลงได้แล้ว
โซลูชันส์นี้มาพร้อมกับเครื่อง Image Guided Therapy System ของฟิลิปส์ การลดการฉีดสารทึบรังสีในระหว่างกระบวนการสวนหลอดเลือดหัวใจ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยได้ ทำให้ศัลยแพทย์ยังคงได้ภาพที่ชัดเจนแต่ใช้สารทึบสีน้อยลง แพทย์จึงสามารถผ่าตัดได้อย่างมั่นใจ และเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจได้มากขึ้น
การประเมินความพร้อมของผู้ป่วยในการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ แพทย์จะต้องทำการวัดความดันของผู้ป่วยเพิ่มเติม หากย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วการตรวจวัดความดันนี้จำเป็นต้องฉีดยา แต่ในปัจจุบัน ด้วยการวัดค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดหัวใจแบบ iFR (Instantaneous Wave Free Ratio) เป็นทางเลือกที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทดแทนการฉีดยาได้ จึงทำให้กระบวนการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจรวดเร็วมากขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลง และช่วยลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยลงมากกว่า 95%
หลังจากการนำ iFR มาใช้ ฟิลิปส์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสาขาวิชาสรีรวิทยาของหลอดเลือดหัวใจและกำหนดกระบวนการใหม่ โดยได้นำเสนอเทคโนโลยีเสริมอย่าง iFR Co-registration ในงานฯ ครั้งนี้ ด้วยการแสดงผลค่า iFR บนภาพหลอดเลือดจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นการไหลเวียนของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้แพทย์ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและรวดเร็วมากขึ้น
ดร.จาเวียร์ เอสคาเนด Head Interventional Cardiology Section โรงพยาบาล Clinico San Carlos IDISSC ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้กล่าวถึงความโดดเด่นของเทคโนโลยี iFR ว่า “การมาถึงของ iFR ได้เปลี่ยนแปลงภาพรวมของสรีรวิทยาหลอดเลือดหัวใจในทางคลินิก การพัฒนาต่างๆ เช่น การวิเคราะห์หลอดเลือดตามยาว (iFR Scout) และ iFR co-registration ร่วมกับการทำภาพหลอดเลือดได้มีส่วนช่วยในการวางแผนและแนวทางการผ่าตัดสวนหลอดเลือดหัวใจรูปแบบใหม่ทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้น”