"รัฐ-เอกชน" ภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิกยกระดับการดูแลตนเองในภูมิภาค

18 พ.ย. 2567 | 12:45 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2567 | 12:46 น.

"รัฐ-เอกชน" ภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิกยกระดับการดูแลตนเองในภูมิภาค มุ่งส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของการดูแลตนเอง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการยกระดับคุณภาพชีวิตในภาคพื้นเอเชีย 

นางจูดี้ สเตนมาร์ก ผู้แทนจากสมาพันธ์การดูแลตนเองนานาชาติ หรือ GSCF เปิดเผยว่า ภาครัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแลระดับชาติ องค์กรไม่แสวงผลกำไร และภาคเอกชนจาก 9 ประเทศ/ตลาดในเอเชีย แปซิฟิก ยกระดับการดูแลตนเอง

ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของการดูแลตนเอง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการยกระดับคุณภาพชีวิตในภาคพื้นเอเชีย 

สำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกนั้น กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่ มีความท้าทายที่หลากหลาย เช่น จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCD อยู่ในระดับสูง 

"รัฐ-เอกชน" ภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิกยกระดับการดูแลตนเองในภูมิภาค

ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนจำกัด ความท้าทายเหล่านี้มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้น จึงจำเป็นต้องเร่งเครื่องผลักดันให้ผู้คนหันมาดูแลตนเองให้ดีขึ้นเพื่อลดภาระในระบบดูแลสุขภาพ 

อย่างไรก็ดี ถ้อยแถลงความร่วมมือกรุงเทพฯ ด้านการดูแลตนเอง จะช่วยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทส่งเสริมการดูแลตนเอง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งมากต่อการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า
 

การดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นภายในงานประชุมใหญ่ Global Self-care Federation World Congress 2024 ภายใต้ความร่วมมือของ Global Self-care Federation (GSCF) ,Asia-Pacific Self Medication Industry (APSMI) และสมาคมเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (TSMIA) ของประเทศไทย 

โดยสมาชิกผู้ร่วมลงนามประกอบไปด้วยองค์กรสมาชิกด้านการดูแลตนเอง และสมาชิกของ APSMI หรือสมาพันธ์ผู้ผลิตและจำหน่ายเภสัชภัณฑ์แห่งเอเชีย แปซิฟิกจาก 9 ประเทศ/ตลาด ได้แก่ ญี่ปุ่น ไทย ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลี อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์