หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม : รฟท. ชี้ชัดกรมที่ดิน ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (4)

18 พ.ย. 2567 | 12:20 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2567 | 12:58 น.

เปิดหนังสืออุทธรณ์ ผู้ว่าฯ รฟท. ยื่นคัดค้านกรมที่ดินกรณีไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ทับซ้อนบริเวณเขากระโดง รฟท. ชี้ชัดกรมที่ดิน ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (4)

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งกรมที่ดินที่ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ชี้การใช้ดุลพินิจไม่ชอบ ขัดคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลปกครอง พร้อมยืนยันกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายและการใช้ประโยชน์มาแต่เดิม

หนังสืออุทธรณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ “วีริศ อัมระปาล” ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งถึงอธิบดีกรมที่ดิน กรณีมีคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ หรือคดีที่ดินเขากระโดง  จำนวน ทั้งหมด 20 หนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ

รฟท.ยืนยันว่า การตัดสินใจของอธิบดีกรมที่ดินเกี่ยวกับการไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบและขัดต่อกฎหมาย แม้ศาลปกครองและศาลฎีกาจะเคยชี้ชัดถึงกรรมสิทธิ์ของการรถไฟในพื้นที่ดังกล่าว

ประเด็นปัญหาเกิดจากกรมที่ดินปฏิเสธคำร้องของการรถไฟฯ ที่ให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ในที่ดินกว่า 900 แปลง โดยอ้างว่าการรถไฟฯ ไม่สามารถแสดงหลักฐานแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินปี พ.ศ. 2464 ได้ แต่การรถไฟฯ โต้แย้งว่าหลักฐานดังกล่าวได้ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 แล้ว อีกทั้งการรถไฟฯ ได้ดำเนินการจัดทำรังวัดแนวเขตโดยร่วมมือกับกรมที่ดินตามคำสั่งศาลปกครองกลางอย่างครบถ้วน

การรถไฟฯ ชี้ว่า การตีความของอธิบดีกรมที่ดินและคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 ของประมวลกฎหมายที่ดิน ขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองและศาลฎีกา ตัวอย่างเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 ที่ชี้ชัดว่าที่ดินบริเวณเขากระโดงเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเคยใช้เป็นแหล่งวัสดุก่อสร้างทางรถไฟ และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังชี้ว่า การตีความที่ว่า "แนวเขตรางรถไฟไม่ควรกว้างเกินกว่า 40 เมตร" นั้น ขัดต่อพระราชกฤษฎีกาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ. 2464
การรถไฟฯ ยืนยันว่า อธิบดีกรมที่ดินมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองและศาลฎีกา รวมถึงข้อสังเกตของศาลที่ให้ตรวจสอบแนวเขตที่ดินโดยละเอียด เพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์ในที่ดินและดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับซ้อนตามกฎหมาย

 

หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม : รฟท. ชี้ชัดกรมที่ดิน ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (4)

 

รายละเอียดหนังสืออุทธรณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า เมื่อพิจารณาข้ออ้างของอธิบดีกรมที่ดินตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0516.2/22162 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2567 ที่แจ้งความเห็นว่า ไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ล้วนเป็นการยกข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือ

ข้ออ้างตามข้อ 2.1 ที่อ้างคำให้การของกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน ที่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ในลักษณะโต้แย้งแผนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นเมื่อปี 2531 และปี 2539 ว่า เป็นการจัดทำขึ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด (กปร.) ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำไปอ้างในการต่อสู้คดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2561 ว่า เป็นแผนที่จัดทำขึ้นภายหลังที่ได้มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปแล้วประมาณ 900 กว่าแปลง และแผนที่ดังกล่าวไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ ในที่พิพาทแต่อย่างใด และอ้างว่าตามมติที่ประชุม กปร. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินคดีทางศาลแก่ผู้บุกรุก โดยมิได้มีการสั่งการเกี่ยวกับการจัดทำรูปแผนที่แต่อย่างใดนั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยขอเรียนว่า อธิบดีกรมที่ดินและคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มักจะอ้างเหตุผลเรื่องที่การรถไฟไม่สามารถนำแผนที่ท้าย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้าง ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464 มาแสดงต่อคณะกรรมการสอบสวนได้ เป็นเหตุผลในการไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน

ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล และมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาณาเขตอันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยละเอียดแล้ว

การที่อธิบดีกรมที่ดินยกข้ออ้างตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวนว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่ยุติว่า เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งขอบเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินนั้น

เป็นการวินิจฉัยและใช้ดุลพินิจที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงตามที่ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และหน่วยงานอื่นๆได้วินิจฉัยไว้แล้ว และเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น เนื่องจากการพิสูจน์ขอบเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมาแล้ว

โดยเฉพาะคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 นั้น กรมที่ดินก็เป็นคู่ความในคดีอยู่ด้วยการที่อธิบดีกรมที่ดินไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน โดยอ้างเหตุตามข้อ 2.1 นั้น ยังเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และสามารถยืนยันว่าที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามกฎหมาย นอกเหนือจากแผนที่ปี พ.ศ.2539 ประกอบด้วย

  1. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจาก นครราชสีมา-อุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462
  2. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 29 สิงหาคม 2463
  3. พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตทางรถไฟแผ่นดิน ต่อจากนครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี วันที่ 25 พฤศจิกายน 2464
  4. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464
  5. พระราชบัญญัติการถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494
  6. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 22 ธันวาคม 2465
  7. หนังสือกรมรถไฟแผ่นดิน เลขที่ ค.อ. 508/67 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2467
  8. กรมรถไฟแผ่นดิน สายโคราช-อุบล แผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรำ กิโลเมตร์ 375+650 มาตรา 1 : 40000
  9. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 และที่ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563
  10. คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 โดยส่งไปตามหนังสือเลขที่ ผสช.ภฉ./002/2567 ลงวันที่ 29 มกราคม 2567 และหนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย รฟ 1/14887/2567 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2567

ตลอดจนส่งรายละเอียดกรอบพื้นที่พิกัดบริเวณเขากระโดง พิกัดฉาก UTM Indian 1975 Datum Zone 48 N ตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายโคราช-อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตร์ 375+650 ตามหนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ รฟ.1/229/2567 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นข้อมูลนอกเหนือจากรูปแผนที่ปี พ.ศ.2539

ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นคำขอรังวัดที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบรีรัมย์ ซึ่งสำนักงานที่ดินจังหวัดบรีรัมย์ ได้แจ้งประมาณการค่าใช้จ่ายในการรังวัด จำนวน 112 แปลงเป็นเงินทั้งสิ้น 1,296,320.00 บาท (หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมึนหกพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้นำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายในการรังวัด จำนวนเงิน 1,296,320.00 บาท (หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นหกพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567

ต่อมาสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมรีรัมย์ ได้นัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่รังวัดปักหลักเขต นำชี้แนวเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 จนแล้วเสร็จ

สำนักงานที่ดินจันจังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดส่งรูปแผนที่ (ร.ว.9) ตามที่ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำทำการรังวัดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นพยานหลักฐานใหม่ นอกเหนือจากรูปแผนที่ปี พ.ศ.2539 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าที่ดินตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรำ กิโลเมตร์ 375+650 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานีลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462

เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดง และบ้านตะโก ทั้งยังใช้เป็นแหล่งวัสดุสำหรับก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินดังกล่าว เป็นที่ดินที่จัดหามาเพื่อใช้ในกิจการรถไฟโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในความหมายของคำว่า “ที่ดินรถไฟ” ตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในเวลานั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟแผ่นดินตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

เป็นผลให้ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 ซึ่งเป็นเส้นทางแยกออกมา ได้รับเอกสารสิทธิคุ้มครองหวงห้ามมิให้ประชาชนเข้ายึดถือหรือครอบครอง รวมทั้งโต้แย้งสิทธิใดๆ เว้นแต่จะมีประกาศหรือกฎหมายตามพระราชกระแสว่าขาดจากการเป็นที่ดินรถไฟแล้ว จึงต้องห้ามออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน

เมื่อทรัพย์สินของกรมรถไฟโอนเป็นกรรมสิทธิแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติกฎหมาย

ข้ออ้างของอธิบดีกรมที่ดิน ข้อ 2.2 ที่อธิบดีกรมที่ดินยกข้ออ้างตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับระยะเขตทางรถไฟในประเด็นเกี่ยวกับความกว้างและความยาวของเขตรถไฟ โดยคณะกรรมการเห็นว่า ในประเด็นเกี่ยวกับความกว้างของแนวเขตรางรถไฟ จึงไม่ควรมีความกว้างเกินกว่า 40 วา (ข้างละ 20 วา) นั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่า ภายหลังที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 แล้ว โดยศาลปกครองกลางได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ที่ดินบริเวณเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของผู้ฟ้องคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 และ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนจัดทำรายงานการสอบสวนให้แล้วเสร็จ ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ประมวลกฎหมายที่ดิน กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดต่อไป แล้ว

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาและข้อสังเกตของของศาลปกครองกลางโดยลำดับ ดังนี้

  1. อธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งแต่งตังคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา ๖๑ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1195/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในท้องที่ตำบลเสม็ด และตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 955 ฉบับ
  2. การรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนังสือเลขที่ รฟ1/1944/2566 ลงวันที่ 15 กันยายน 2566 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน ขอทราบผลการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
  3. การรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนังสือด่วนที่สุดเลขที่ รฟ1/2096/2566 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2566 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน แจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่เพื่อร่วมดำเนินการตรวจจสอบแนวเขตที่ดินตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง
  4. คณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ได้มีหนังสือศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ที่ บร 0020.4/20519 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 และ ที่ บร 0020.2/2/20519 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ได้เชิญการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานที่ดินจังหวังหวัดบุรีรัมย์

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมในวันและเวลาดังกล่าว โดยที่ประชุมได้ข้อยุติว่า การดำเนินการรังวัดทำแผนที่ กรมที่ดินต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการรับคำขอรังวัด การนัดรังวัด และการเรียกค่าใช้จ่ายในการรังวัดเฉพาะราย พ.ศ.2547 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการยื่นคำขอรังวัดทำแผนที่ บริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์

และให้จัดส่งข้อมูลกรอบพื้นที่ซึ่งมีค่าพิกัดรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอแก่การประมาณการค่าใช้จ่ายในการรังวัด ซึ่งต้องดีกว่ารูปแผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปี 2539 ภายใน 30 วัน ตามหนังสือศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ บร 0020.4/373 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 และ ที่ บร 0020.2/374 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567

 

หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม : รฟท. ชี้ชัดกรมที่ดิน ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (4)

 

5.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นคำขอรังวัดที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ตามหนังสือเลขที่ ผสช.ภฉ./002/2567 ลงวันที่ 29 มกราคม 2567 โดยส่งมอบเอกสารให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

5.1 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจาก นครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462
5.2 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 29 สิงหาคม 2463
5.3 พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตทางรถไฟแผ่นดิน ต่อจากนครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี วันที่ 25 พฤศจิกายน 2464
5.4 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้าง ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464
5.5 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494
5.6 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างวันที่ 22 ธันวาคม 2465
5.7 หนังสือ กรมรถไฟแผ่นดิน เลขที่ ค.อ. 508/67 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2467
5.8 กรมรถไฟแผ่นดิน สายโคราช-อุบล แผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟ ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรำ กิโลเมตร์ 375+650 มาตรา 1 : 4000

6.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดส่งเอกสารเพื่อประกอบการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิที่ออกทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ รฟ.1/2/68/2567 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ต่อนายอุทิศ ชูประดิษฐ์ ประธานกรรมการสอบสวนฯ รายละเอียดกรอบพื้นที่พิกัดบริเวณเขากระโดง พิกัดฉาก UTM Indian 1966/5 Datum Zone 48 N ตามแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายโคราช-อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตร์ 375+650

7.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/7634 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 แจ้งประมาณการค่าใช้จ่ายในการรังวัด จำนวน 112 แปลง เป็นเงินทั้งสิ้น 1,296,320.00 บาท (หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นหกพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน) ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย นำเงินไปชำระ

8.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/7872 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2567 แจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดส่งเอกสารประกอบคำขอรังวัด นอกเหนือจากรูปแผนที่ ปี พ.ศ.2539 เพื่อประกอบการนำชี้แนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย

9.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายในการรังวัด จำนวน 1,296,320.00 บาท(หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นทุกพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 ตามใบเสร็จรับเงินสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ เลขที่ 66-3097983 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2567

10.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/10444 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2567 แจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดส่งเอกสารหลักฐานของทางราชการ ที่สามารถยืนยันว่าที่ดินดังกล่าว เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายนอกเหนือจากแผนที่ปี พ.ศ.2539 พร้อมทั้งแต่งตั้ง ตัวแทนเจ้าหน้าที่ 4 ชุด เพื่อนำรังวัดชี้แนวเขตที่ดินภายในวันที่ 15 เมษายน 2567

11.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือเลขที่ บร 0020.2/11221 ลงวันที่ 1 เมษายน 2567 และ บร 0020.4/11241 ลงวันที่ 2 เมษายน 2567 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำเอกสาร พยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งแสดงเหตุผลข้อเท็จจริง หรือข้อมูลอื่นๆ ประกอบพยานหลักฐานที่แสดง ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว

12.การรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนังสือ ที รฟ 1/735/2567 ลงวันที่ 3 เมษายน 2567 ชี้แจงข้อเท็จจริงในการนำส่งข้อมูลการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าได้ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้วตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2567 ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จำนวน 4 ราย เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบแนวเขต ที่ดินตามคำพิพากษาศาลปกครองแล้ว ตลอดจนยื่นคำขอรังวัดที่ดินเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 รวมถึงชำระเงินค่าใช้จ่ายในการรังวัดเสร็จสินแล้วเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567

13. สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ บร 0020.3/15062 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 แจ้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมหารือกำหนดนัดวัดวันรังวัดตรวจสอบ แนวเขตที่ดินของการถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุม

ที่ประชุมมีมติ กรมที่ดิน (สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์) ได้กำหนดแนวทางการลงพื้นที่รังวัดการตรวจสอบแนวเขตที่ดินเขตทางแยก เขากระโดง อำเภอจังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม 2567 และขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ปักหลักแนวเขตที่ต้องการนำชี้ไว้ล่วงหน้าก่อนการรังวัด

 

หนังสืออุทธรณ์ฉบับเต็ม : รฟท. ชี้ชัดกรมที่ดิน ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (4)

 

14.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/18144 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2567 แจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือมอบอำนาจโดยระบุขอบเขตอำนาจของตัวการและตัวแทนที่มีอำนาจ นำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดปักหลักเขตนำชี้แนวเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน

ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อประกอบการดำเนินการนัดรังวัด และทำการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และขอทราบว่า จะสามารถมอบหมายผู้แทนทำการนำรังวัดทำแผนที่ได้จำนวนกี่ชุด และสามารถทำการรังวัดได้ในห้วงเวลาใด

15.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/1343/2567 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2567 แจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้แทนของการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าร่วมรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน บริเวณ ทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 ชุด

16.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือมอบอำนาจ ที่ รฟ 1/1398/2567 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2567 มอบอำนาจให้ผู้แทนของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 4 นาย นำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดปักหลักเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บริเวณทางแยกเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทุกขั้นตอนจนเสร็จการ

17.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/19384 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2567 แจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดส่งเจ้าหน้าที่นำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดปักหลักเขต นำชี้แนวเขตและรับรองแนวเขตที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น.

18.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/1487/2567 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจงข้อเท็จจริงในการนำส่งข้อมูลการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งที่ 2 และส่งข้อมูลดังนี้

18.1 แผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายโคราช-อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากะโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเม็ตรที่ 375+650
18.2 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจาก นครราชสีมาถึง อุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2466
18.3 พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464
18.4 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494
18.5 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 และที่ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563
18.6 คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566

19.เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้รับมอบอำนาจฯ 4 นาย เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแนวเขต 6 นาย และเจ้าหน้าที่บำรุงทางท้องถิ่น 8 นาย รวม 18 นาย แบ่งเป็น 2 ชุด ๆ ละ 9 นาย) ลงพื้นที่บริเวณ ทางแยกเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2567 เพื่อปักหมุด หลักแนวเขตที่ดิน ที่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เฉพาะแปลงที่ดินที่ไม่มีผู้ครอบครอง หรือที่ดินที่ส่วนราชการใช้ประโยชน์อยู่ โดยปักหมุดพิกัดแนวเขตที่ดินได้ 92 หมุด

20.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.1/21239 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ชี้แจงว่าการรังวัดถ้าไม่มีปัญหาอุปสรรคหรือมีเหตุขัดข้อง จะสามารถดำเนินการรังวัดแล้วเสร็จภายใน 50 วันทำการ นับแต่เริ่มทำการรังวัด เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567

21.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/1707-1709/2567 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ขอทราบกรอบระยะเวลา และแผนงานในการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ตลอดจนกระบวนการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับช้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าจะใช้กรอบระยะเวลาเท่าใด เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง

22.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/24123 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2567 แจ้งผลการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดงจังหวัดบุรีรัมย์ ตามที่ผู้แทนของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำทำทำการรังวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามรูปแผนที่ (ร.ว.9)

23.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/26655 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2567 นำส่งรูปแผนที่ (ร.ว.9) การรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจสอบและรับรองรูปแผนที่ภายใน 15 วัน

24.การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/2230/2567 ลงวันที่ 6 กันยายน 2567 แจ้งว่ารูปแผนที่ (ร.ว.9) ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์จัดส่งมานั้น ไม่ระบุพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดิน ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบและรับรองรูปแผนที่ได้ จึงขอความอนุเคราะห์ให้จัดส่งข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดินในรูปแบบของระบบพิกัดกริด (UTM Indian 1975) และข้อมูลมูลไฟล์ดิจิทัลนามสกุล .Sho, .DWG และไฟล์ Excel เพื่อเป็นข้อมูลมูลประกอบการตรวจสอบรูปแผนที่ต่อไป

25.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/27928 ลงวันที่ 12 กันยายน 2567 จัดส่งข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ตามรูปแผนที่ (ร.ว.9) สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดส่งข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดินในรูปแบบของระบบพิกัดกริด (UTM Indian 1975) และข้อมูลไฟล์ดิจิทัลนามสกุล .Shp, .DWG และไฟล์ Excel ให้การรถไฟฯ ตรวจสอบ และรับรองรูปแผนที่แล้วแจ้งให้สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์

26.การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือ ที่ รฟ 1/2538/2567 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2567 แจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์แล้วพบว่า มีรายการที่ต้องปรับปรุงข้อมูล จึงมีหนังสือให้สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ปรับปรุงข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่งหมุดที่ดิน

27.กรมที่ดิน ได้มีหนังสือ ที่ มท 0516.2(2)/22162 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2567 แจ้งการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบรุรีรัมย์ และยุติเรื่อง

28.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/31528 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ส่งรายการปรับปรุงข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่ง เมื่อเปรียบเทียบค่าพิกัด ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งนั้น มีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยอาจเกิดจากการรังวัดต่างวิธี

29.สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีหนังสือ ที่ บร 0020.3/31901 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 แจ้งว่าได้ทำการรังวัดเสร็จเรีบร้อยแล้ว และได้จัดส่งรูปแผนที่ (ร.ว.9) ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ทราบแล้ว จึงมีเงินมัดจำรังวัดคงเหลือ 1,178,240 บาท จึงให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดต่อขอรับเงินมัดจำรังวัดคืน

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับ ความกว้าง ตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขตของแนวเขตที่ดินรถไฟ การพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนฯ เป็นการตีความนอกเหนือจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาและกฎหมาย กล่าวคือ คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 7)

ตามบันทึก เรื่องเสร็จที่ 106/2541 เรื่อง กรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยระเบิดหิน เพื่อใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟ ได้พิจารณาแล้วเห็นเป็นยุติว่า ที่ดินที่ราษฎรครอบครองบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ที่เจ้าหน้าที่กรมรถไฟแผ่นดินได้สำรวจ และจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดซื้อที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาฉบับ พ.ศ.2464 แต่ที่ดินที่เป็นปัญหากรณีนี้ มิได้ดำเนินการจัดซื้อ เพราะในแผนที่กำหนดไว้ว่าเป็นที่ป่ายังไม่มีเอกชนครอบครองทำประโยชน์

แม้ว่าพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2462 ได้กำหนดแนวเขตอย่างกว้างไว้สำหรับการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟและไม่มีผลเป็นการเวนคืนที่ดินตามความเห็นของผู้แทนกรมที่ดินก็ตาม แต่เมื่อได้ทำการสำรวจเส้นทางที่แน่นอนและทราบจำนวนที่ดินที่มีความจำเป็นต้องใช้แล้ว ก็จะมีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินจากเอกชนและยกเลิกพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2462 เป็นตอนๆ ซึ่งแนวทางที่แน่นอนนี้ ประกอบด้วย ที่ดินของเอกชนที่จะต้องจัดซื้อตามพระราชกฤษฎีกา และที่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐที่ไม่จำเป็นต้องจัดซื้อ แต่มีสภาพเป็นที่ดินที่หวงห้ามไว้ใช้ในราชการ

เมื่อปรากฏว่าการสำรวจที่ดินเพื่อกำหนดแนวเขตที่ดินที่ดินที่ใช้สร้างทางรถไฟในปี พระพุทธศักราช 2464 ได้ดำเนินการครบถ้วน รวมทั้งกรมรถไฟแผ่นดินได้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟแสดงไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และโดยที่ที่ดินบริเวณที่หารือ ซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟในขณะนั้น มีสภาพเป็นป่า ยังไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์

และเมื่อกรมรถไฟแผ่นดินได้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งวัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟ จึงถือได้ว่าเป็นการหวงห้าม ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้ใช้ในราชการตามกฎหมายแล้ว ที่ดินนั้นจึงเข้าลักษณะเป็นที่ดินรถไฟตามมาตรา 3 (2) และได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการถไฟแลทางหลวงฯ”

ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ พิจารณาเห็นเป็นยุติแล้วว่า ที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

การที่กรมที่ดิน โดยคณะกรรมการสอบสวนฯ นำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกามาประกอบการพิจารณา โดยให้ความเห็นในประเด็นเกี่ยวกับความกว้างของแนวเขตรางรถไฟไม่ควรกว้างเกินกว่า 40 เมตร (ข้างละ 20 วา) จึงไม่ถูกต้องตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ และไม่ถูกต้องตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้าง ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2463

และพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้าง ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464 พร้อมแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ซึ่งได้รับรองกรรมสิทธิ์ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยไว้ชัดเจนเป็นที่ยุติแล้วนั้น

ดังนั้น เมื่อยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอนกฎหมายดังกล่าว ที่ดินตามแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟที่ได้แสดงไว้ชัดเจนแล้วนั้น จึงยังคงเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับข้อสังเกตของศาลปกครองกลาง ที่คณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เห็นว่า ไม่อาจดำเนินการตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางในการเข้าร่วมกันชี้แนวเขตที่ตินของการรถไฟแห่งประเทศไทย นั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทยขอคัดค้านความเห็นดังกล่าวของคณะกรรมการสอบสวนฯ เนื่องจากคำพิพากษาของศาลปกครองที่ให้อธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

เพื่อหาแนวเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขแดงที่ 842-876/2560 และที่ 8029/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 นั้น ถูกต้องแล้ว ไม่กระทบต่อความเป็นกลางและเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง

อีกทั้งข้อสังเกตของศาลปกครองกลางถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาของศาลตามมาตรา 69 (8) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

เมื่อคณะกรรมการสอบสวนฯ ปฏิเสธการดำเนินการตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลาง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย และการที่คณะกรรมการสอบสวนฯ เห็นว่า ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีสถานะทางกฎหมายและตำแหน่งที่ตั้งที่ดินยังไม่เป็นที่ยุตินั้น เป็นการใช้ดุลพินิจและความเห็นที่ไม่ถูกต้อง

เนื่องจากที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มาโดยผลของกฎหมายดังกล่าวไปแล้วข้างต้น และมีข้อยุติตามคำพิพากษาของศาลตามที่ได้เรียนไว้ในอุทธรณ์แล้ว

จากข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ไว้ในมาตรา 69(8) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองที่ให้อำนาจศาลปกครองมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้

ข้อสังเกตของศาลปกครองดังกล่าว แม้มิใช่คำพิพากษาที่มีผลผูกพันเป็นข้อแพ้ชนะในคดี แต่ก็เป็นแนวทางหรือวิธีการดำเนินการของคู่กรณีเพื่อให้การปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลเป็นไปโดยครบถ้วนสมบูรณ์

โดยตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลาง มีสาระสำคัญให้การรถไฟแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดิน เพื่อหาเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3

กรณีดังกล่าวย่อมมีนัยว่า เขตที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ได้รับการรับรองโดยคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 และที่ 8027/2561 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 รวมถึงคำพิพากษาของศาลปกครองกลางคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 แล้ว เพียงแต่ศาลกำหนดให้มีการตรวจสอบแนวเขตให้ชัดเจนเท่านั้น

กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน จึงเป็นหัวหน้าหน่วยงานไม่อาจปฏิเสธกรรมสิทธิ์ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ มีเพียงหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินว่า มีการทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งการจะพิจารณาแนวเขตดังกล่าว กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน จึงต้องปฏิบัติตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางให้ถูกต้องครบถ้วน

เมื่อการถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลาง โดยร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งของอธิบดีกรมดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในท้องที่ตำบลเสม็ดและตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ และได้ดำเนินการจนถึงขั้นจัดทำการรังวัดและทำรูปแผนที่เสร็จแล้ว

แต่อธิบดีกรมที่ดินกลับมีคำสั่งแจ้งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน ตามความเห็นที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอ ทั้งที่ขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ทราบแนวเขตที่แน่ชัดตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 นั้น ก็ได้ข้อยุติแล้ว อันจะนำไปสู่การจัดทำรายงานผลการสอบสวน เพื่อเสนอธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินต่อไป

แม้ข้อสังเกตของศาลปกครองกลางจะมีใช่เป็นกฎหมายที่กำหนดให้กรมที่ดิน และคณะกรรมการสอบสวบสวนต้องปฏิบัติ แต่เมื่อเป็นแนวทางหรือวิธีดำเนินการที่ศาลปกครองกำหนดให้คู่กรณีในคดีต้องปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติตามคำพิพากษาเป็นไปโดยครบถ้วนสมบูรณ์

ย่อมถือว่าข้อกำหนดของศาลปกครองดังกล่าวเป็นการกำหนดรูปแบบ ชั้นตอน และวิธีการสำหรับดำเนินการในการปฏิบัติตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินเพิ่มเติม ซึ่งมีผลให้คู่กรณีในคดีต้องปฏิบัติตามเช่นกัน

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ 1195-1196/2566 ได้เชิญการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมกำหนดแนวทางให้มีการรังวัดทำแผนที่และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติตามแนวทางตามที่รังวัด ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติตามแนวทางตามที่ที่ประชุมได้กำหนด

จนกระทั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการรังวัดและจัดทำรูปแบบ (ร.ว.9) เรียบร้อยแล้ว จึงชอบที่คณะกรรมการสอบสวนและอธิบดีกรมที่ดินจะนำผลการรังวัดพิจารณารังวัดและการจัดทำรูปแผนที่เพื่อแสดงแนวแนวเขตที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยไปพิจารณา แต่กลับมีมติและเสนออธิบดีกรมที่ดินออกคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินเสีย ทั้งที่ขั้นตอนการดำเนินการร่วมกันตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางใกล้ข้อยุติแล้ว

การที่อธิบดีกรมที่ดินได้มีคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญและพฤติการณ์ในการดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวน รวมทั้งอธิบดีกรมที่ดินยังมีลักษณะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วยอันถือเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย