นพ.กูร์ เลวี ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านโรคระบบทางเดินหายใจ GSK กล่าวว่า หากมีอาการไอเรื้อรัง หายใจไม่เต็มปอด ตื่นเช้าไม่สดชื่น หรือมีความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ ต้องเริ่มตระหนักถึงโรคปอดและพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (copd) รวมถึงไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ซึ่งการตรวจสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยเครื่อง Spirometer เพื่อวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด
โดยโรค copd พบผู้ป่วยทั่วโลกกว่า 250 ล้านคน ในทุกช่วงอายุตั้งแต่วันเด็กจนถึงผู้ใหญ่ และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ยังพบว่าในปี 2562 มีผู้เสียชีวิตเพราะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังถึง 3.5 ล้านคน
ดังนั้น GSK จึงได้ร่วมมือกับแพทย์ชั้นแนวหน้าและผู้เชี่ยวชาญทรงคุณวุฒิจากทั่วโลกจาก 17 ประเทศ จัดประชุม ‘RespiVerse’ ประจำปี 2567 ครั้งที่ 3 เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อเสนอโซลูชั่นในการรับมือกับความท้าทายระดับโลกเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ โดยใช้นวัตกรรมและชูกลยุทธ์สร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจทั่วโลก ทั้งพัฒนาโปรแกรมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการทางคลินิก และการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจแบบใหม่สำหรับผู้ป่วย
รวมถึงมุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ วัคซีน ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และยาสูดพ่น ซึ่งมีเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไวรัสที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจทุกประเภท พร้อมพัฒนาทางเลือกในการรักษาใหม่ พลิกโฉมอนาคตของยารักษาโรคระบบทางเดินหายใจสำหรับผู้ป่วย และนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อแก้ไขความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ของโรคและป้องกันอาการลุกลามของโรคด้วย
"การประชุม RespiVerse นับเป็นการรับมือกับความท้าทายทางคลินิกเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ ที่จะพัฒนาเนื้อหาเชิงวิทยาศาสตร์ ความรู้ และแนวทางการปฏิบัติทางวิชาชีพ สำหรับแพทย์ระบบทางเดินหายใจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และละตินอเมริกามุ่งเน้นไปที่การจัดการกับโรคระบบทางเดินหายใจ 4 โรค ได้แก่โรคหอบหืดปานกลาง โรคหอบหืดรุนแรง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือที่รู้จักกันดีในชื่อ COPD และ Respiratory Syncytial Virus (RSV)"
นพ.อาร์นาส เบอร์ซานสกิส รองประธานและหัวหน้าฝ่ายการแพทย์ระดับภูมิภาค - วัคซีนของ GSK กล่าวว่า การป้องกันเป็นหัวใจสำคัญของสาธารณสุข และมีความจำเป็นต้องแก้ปัญหาโรคทางเดินหายใจอย่างเร่งด่วน เช่น ไวรัส RSV อาจพบได้บ่อยและอันตรายยิ่งกว่าไข้หวัดใหญ่ 1,2
ดังนั้น GSK จึงมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมวัคซีนเพื่อปกป้องประชากรกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากขึ้น หากเป็นโรค RSV 3 การให้ความสำคัญกับการป้องกัน จะช่วยลดภาระโรค RSV และส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่สังคมโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
รศ.นพ.ฟาริช นูร์วิทยา รองศาตราจารย์ หัวหน้าวิชาวิทยาภูมิคุ้มกันและโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบ ภาควิชาโรคปอดและเวชศาสตร์ระบบทางเดินหายใจ มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด โรงพยาบาลเพอร์ซาฮาบาตัน ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจถือว่ามีอยู่หลายรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้นภูมิคุ้มกันของคนจะลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยที่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง และถ้าคนไข้ไม่มีภูมิคุ้มกันจะทำให้เกิดการอักเสบจนอาการแย่ลง
นอกจากนี้ยังมี 3 ปัจจัยเสี่ยง คือ 1.การสูบบุหรี่ต่อเนื่อง และผู้ที่อยู่ในสภาวะทางอากาศเป็นพิษกับควันบุรี่ 2.หากเกิดภาวะโรค COPD ต้องกินยาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่อย่างนั้นอาการจะทรุดลง 3.ต้องฉีดวัคซีนป้องกันไว้ เพราะหากไม่มีภูมิคุ้มกันจะทำให้เกิดการติดเชื่อต่อเนื่องและรุนแรง
นพ.เล คัค บ๋าว ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และเภสัชศาสตร์แห่งนครโฮจิมินห์ และรองหัวหน้าแผนกโรคปอด โรงพยาบาลประชาชนเกียดินห์ ประเทศเวียดนาม กล่าวว่า ปัจจุบันมีไวรัสและแบคทีเรียหลากหลายชนิด ที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของคนบางครั้งติดเชื้อโดยไม่รู้ตัวและสามารถฟื้นตัวได้ด้วยตัวเอง แต่บางคนมักเกิดอาการแสดงออกอย่างรุนแรง เช่น ไข้หวัดใหญ่ เชื้อโควิด-19 ซึ่งส่วนมากจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน แต่บางรายปอดบวมรุนแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ทางที่ดีที่สุดคือกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน
"เราจะไม่รู้เลยว่าอาการที่แสดงออกผ่านระบบทางเดินหายใจที่เกิดปัญหาติดไวรัสอะไร หากไม่ได้รับการตรวจในทางการแพทย์ แม้แต่คนที่มีอาการหอบหืดก็มีโอกาสติเชื้อไวรัส RSV ทำให้เกิดการหายใจแบบมีเสียงหวีด บางกรณีมักทำให้โรคหอบหืดกำเริบบ่อยขึ้น"
ผศ.พญ.ไพลิน รัตนวัฒน์กุล ผู้ช่วยศาตราจารย์สาขาวิชาโรคระบบทางเดินหายใจ และภาวะวิกฤตโรคระบบทางเดินหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรองผู้อำนวยการศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ศูนย์การแพทย์) กล่าวว่า หลายคนอาจไม่สามารถเข้าถึงเเครื่องวัดปริมาตรปอด (Spirotometer) และประชาชนทั่วไปมักไม่ตระหนักรู้ถึงภาวะการเกิดโรค ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงที่สูบบุหรี่ที่จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน และโรค copd เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 4 ของคนทั่วโลก จำเป็นต้องตระหนักถึงการป้องกัน
"หลายคนอาจมองว่าโรคมะเร็งเป็นภัยร้ายแรง แต่โรคโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก็เป็นภัยเงียบและอันตรายไม่น้อยไปว่ากัน เมื่ออาการกำเริบไม่เพียงแต่เฉพาะโรคเกี่ยวกับปอดเท่านั้น ยังอาจมีจุดอักเสบหรือติดเชื้ออย่างอื่นที่อาจไม่สามารถฟื้นตัวจากโรคกลับมาสู่ภาวะปกติได้ ฉะนั้นเป้าหมายการรักษาคือการป้องกันและยับยั้งโรคไว้ก่อนป่วยดีที่สุด"
เมื่อติดเชื้อไวรัสปกติคนทั่วไปจะสามารถฟื้นตัวเองได้โดยธรรมชาติแต่ไม่ใช่ทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ อาจถึงขั้นเสียชีวิต และไวรัสบางตัวก็ยังไม่มียารักษาโดยตรงมีแค่วัคซีนที่ป้องกันเท่านั้น โดยผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเมื่อรักษาหายแล้วมักจะเกิดความผิดปกติในส่วนอื่นๆ ของร่างกายตามมาอีกภายหลังด้วย หากป้องกันและลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อได้ก็ควรป้องกันไว้ดีกว่า