นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ กล่าวว่า หมอนรองกระดูกสันหลัง คือเนื้อเยื่อที่มีลักษณะด้านนอกคล้ายยางรถยนต์ ส่วนด้านในจะมีลักษณะคล้ายวุ้นอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อตั้งแต่คอ อก จนถึงเอว
ทำหน้าที่เป็นข้อต่อรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และมีหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทกเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยืน กระโดด บิดตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นของการเคลื่อนไหว
โดยปกติแล้วโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท มักเกิดกับกลุ่มคนอายุมากแต่อาจเกิดในวัยหนุ่มสาวได้หากมีกิจกรรมที่ส่งผลต่อความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ไวขึ้น เช่น ยกของหนักด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม นั่ง หรือ ยืนทำงานที่ไม่ถูกท่า หรือ ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ และถูกกระแทกรุนแรงที่กระดูกสันหลัง ออกกำลังกายหักโหม และน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
โรคกระดูกสันหลังที่พบบ่อยมักแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ผู้ที่มีอายุน้อย ปัญหาส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น แต่หากอายุมากขึ้น มักพบโรคโพรงเส้นประสาทตีบ ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งในส่วนของกระดูกสันหลังคอและหลัง
โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากภาวะเสื่อมของโครงสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นตามวัย สถิติการรักษาโรคกระดูกสันหลังที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ ได้แก่
1.โพรงเส้นประสาทตีบแคบ
2.หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น
3.กระดูกสันหลังเคลื่อน
4.กระดูกยุบตัวจากภาวะกระดูกพรุน
5. อาการที่เกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม
พฤติกรรมที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังมักเกี่ยวข้องกับการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหรือยืนนาน ๆ การยกของหนัก และการขาดการออกกำลังกาย โดยในกลุ่มผู้สูงอายุ
ปัญหามักเกิดจากการนั่งทำงานโต๊ะนาน ๆ เช่น การเขียนหนังสือหรือทำงานบัญชี ส่วนในกลุ่มวัยรุ่นหรือคนวัยทำงาน ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กเป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังส่วนคอ
แม้ว่าการออกกำลังกายจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง แต่ถ้าออกกำลังกายผิดวิธี ผิดท่าหรือไม่เหมาะสม อาจเสี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้ โดยเฉพาะการออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก หากยกผิดท่าหรือน้ำหนักเกินกำลัง อาจเสี่ยงหมอนกระดูกสันหลังปลิ้นกดทับเส้นประสาทได้ เพราะในขณะที่ออกแรงยกจะทำให้เกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกสันหลัง จนเกิดการแตกปลิ้นและกดทับเส้นประสาท
-ปวดหลังส่วนล่างหรือปวดคอ
-ปวดบริเวณก้นหรือสะโพก ร้าวลงขา (อาการของเส้นประสาทไซแอติก)
-ชาหรือรู้สึกเสียวแปลบเหมือนไฟช็อต ร้าวลงแขนหรือขา
-มีปัญหาในการก้มตัวหรือยกของ
-การทรงตัวผิดปกติ
-กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย (ในกรณีที่เส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน)
นพ.ชุมพล กล่าวต่อว่า การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาดังนี้
การรักษาโรคกระดูกสันหลังที่ต้นเหตุมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดและยั่งยืน การรักษาที่เน้นสาเหตุของโรคมากกว่าการรักษาตามอาการ ด้วยนวัตกรรมเฉพาะทางช่วยให้หายจากอาการปวดต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งพายาแก้ปวดอย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ การวินิจฉัยที่แม่นยำด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามผลการรักษา
ในกรณีที่มีอาการผิดปกติทางกระดูกสันหลัง เช่น ปวดหลังร้าวลงขา หรือปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ การตรวจด้วยเครื่อง MRI จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ แต่ต้องอ่านผลควบคู่กันกับการ X-ray เพราะจะทำให้เห็นโครงสร้างกระดูกสันหลังได้ชัดเจน
ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ มี เครื่อง MRI แบบยืน (Standing MRI) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้การตรวจมีความแม่นยำมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถยืนหรือนั่งระหว่างตรวจ เพื่อสร้างแรงกดลงในแนวดิ่ง คล้ายกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน ทำให้แพทย์สามารถประเมินอาการและวินิจฉัยโรคได้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากขึ้น
นอกจากนี้เครื่องยังออกแบบให้มีลักษณะเปิดโล่งด้านข้างทั้งสองฝั่ง ช่วยลดความกังวลสำหรับผู้ที่มีภาวะกลัวที่แคบ หลังการวินิจฉัยด้วยเครื่องมือที่แม่นยำ แพทย์จะเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของอาการ เช่น การฉีดยาระงับการอักเสบในกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มปูดหรือปลิ้นออกมาเล็กน้อย
การจี้ด้วยเลเซอร์เพื่อลดแรงกดในกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นไม่มาก หรือการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นมากจนกดทับเส้นประสาท