แม้จะโดนกระหน่ำจาก สถาบันการวิจัยพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือ TDRI คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบกรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคม สภาองค์กรของผู้บริโภค ซูเปอร์บอร์ด กสทช. และ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด หรือ NT เรียงแถวออกมาคัดค้านการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC หากควบรวมสำเร็จจะเกิดการผูกขาดธุรกิจ จากผู้เล่น 3 ราย เหลือเพียง 2 รายเท่านั้น ไม่นับรวมเครือข่ายของ NT Mobile และ เพนกวิน ซึ่งทำตลาดในลักษณะ MVNO (ทำการตลาดให้ NT แบบไม่มีโครงข่ายของตนเอง)
แม้จะเดินหน้าคัดค้านทุกช่องทาง แต่ TRUE และ DTAC จำเป็นต้องเดินหน้าตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติแผนควบรวม พร้อมทั้งแจ้งตลาดตลาดหลักทรัพย์ เผยแพร่ต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการไปก่อนหน้านี้ โดยใน วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 ทั้งสองบริษัทฯจะนำเสนอเข้าที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติ
ผ่าโครงสร้างใหม่ “TRUE-DTAC”
โครงสร้างเดิม TRUE
โครงสร้างเดิม DTAC
โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ ดังนี้
ข้อมูลทั่วไปบริษัทฯใหม่
สารสนเทศเกี่ยวกับการควบรวม TRUE แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัทใหม่ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลใหม่ที่เกิดจากการควบบริษัทระหว่าง TRUE และ DTAC จะได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบทั้งหมดของทั้งสองบริษัท ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน ในการนี้เจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ของทั้งสองบริษัทจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของบริษัทใหม่ต่อไป หน้าที่ตามสัญญาต่างๆ ระหว่างทั้งสองบริษัทกับคู่สัญญา รวมไปถึงหน้าที่อื่นๆ จะเป็นหน้าที่ของบริษัทใหม่ที่จต้องดำเนินการทั้งสิ้น
ทั้งนี้ภายหลังจากที่ TRUE และ DTAC ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทให้ดำเนินการควบบริษัทแล้วนั้น TRUE และ DTAC จะต้องดำเนินการต่างๆ กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการขออนุมติ ขอผ่อนผัน หรือ การยื่นเอกสารต่างๆ เพื่อการโอนและ/หรือการออกใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้แก่บริษัทใหม่ เพื่อให้การโอนและ/หรือการออกใบอนุญาติที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้แก่บริษัทใหม่ ดำเนินการได้แล้วเสร็จก่อน การจดทะเบียนการควบบริษัทต่อกระทรวงพาณิชย์หรือแล้วเสร็จโดยเร็วที่สุดภายหลังจากจดทะเบียนดังกล่าว
นอกจากนี้บริษัทใหม่จะได้ไปทั้งสิทธิ และ ภาระหน้าที่ของ TRUE และ DTAC ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และ บริษัทอื่นซึ่ง TRUE และ DTAC เข้าไปลงทุน
TRUE และ DTAC จะดำเนินการยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้รับหุ้นของบริษัทใหม่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ อันเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนดำเนินการควบรวมบริษัท
ทุนของบริษัทฯใหม่
ภาพรวมธุรกิจของบริษัทใหม่
ภาพลักษณ์องค์กรของบริษัทใหม่
บริษัทใหม่ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมจะมีการประกอบธุรกิจ ดังต่อไปนี้
ลือสะพัดใช้ชื่อบริษัท ทรู ดีแทค จำกัด
ล่าสุดแหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เชื่อว่าการควบรวมธุรกิจของ TRUE และ DTAC น่าจะผ่านขั้นตอนกระบวนการสำเร็จ เพราะทั้งสองบริษัทฯได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร และ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยแพร่ต่อสาธรณชนไปเรียบร้อย กระบวนการต่างๆ ดำเนินการไปมากแล้วยากเกินจะยับยั้งไม่น่าจะมีอะไรคาดเคลื่อนไปจากนี้แล้ว
“บริษัทฯใหม่ได้ยินมาใช้ชื่อว่า “บริษัท ทรู ดีแทค จำกัด” หรืออาจจะใช้ชื่อย่อว่า "TRUE D" อันนี้ต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง รูปแบบนี้เหมือนกับที่ ทรู เคยร่วมทุนกับกลุ่มออเรนจ์ ประเทศฝรั่งเศส ใช้ชื่อบริษัทฯร่วมทุนว่า “บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด” ใช้ชื่อทางการตลาดว่า "TA Orange" แหล่งข่าวกล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ".