ควันหลงการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งล่าสุด มีมติอนุมัติให้ปรับอัตราไปรษณียากร หรือ แสตมป์ สำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่ใช้ราคาเดิมมาตามกฎกระทรวงฯ ปี 2547 โดยออกเป็นร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอ
กระทรวงดิจิทัลฯ ชี้แจงถึงรายละเอียดความจำเป็นว่า กฎกระทรวงเดิม มีผลใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ไม่ได้ขอปรับอัตราราคาค่าบริการไปรษณีย์พื้นฐานในประเทศ ขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ
พร้อมยกตัวอย่างผลการศึกษาโครงการปรับปรุงอัตราค่าบริการไปรษณียากรของจดหมายและไปรษณียบัตรในประเทศของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เมื่ออิงกับดัชนีราคาผู้บริโภค และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป พบว่าในปี 2562 อัตราค่าบริการจดหมายในประเทศที่ควรจะเป็นคือ 4.13 บาทต่อฉบับ แต่ที่ผ่านมาเก็บค่าบริการประชาชนในอัตราเริ่มต้นที่ 3 บาท
มีผลให้ ปณท มีภาระเชิงสังคมต้นทุนของบริการพื้นฐานในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลปี 2554 – 2563 เป็นจำนวนสูงถึง 18,380 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 1,838 ล้านบาทและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2563 มีภาระการให้บริการเชิงสังคม 3,072 ล้านบาท)
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ จึงพิจารณาแล้วเห็นว่า ปณท ได้ใช้อัตราค่าบริการไปรษณีย์พื้นฐานเดิมมาเป็นเวลานาน กิจการไปรษณีย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มประสบปัญหาขาดทุน จึงเห็นควรปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ และได้เสนอกฎกระทรวงมาให้ครม.เห็นชอบไปเป็นที่เรียบร้อย
ด้วยคำชี้แจงของกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งระบุว่ากิจการไปรษณีย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มประสบปัญหาขาดทุน “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ทำการตรวจสอบฐานะการเงินของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) พบข้อมูลดังนี้
ปี 2560
ปี 2561
ปี 2562
ปี 2563
ปี 2564 (ม.ค.-ก.ย. 2564)
เมื่อตรวจสอบรายงานการให้บริการเชิงสังคม ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ซึ่ง ปณท ได้แสดงไว้ใน รายงานประจำปี 2563 แจ้งรายละเอียดว่า เครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์มากกว่า 5,000 แห่ง ทั่วประเทศ บางแห่งเป็นพื้นที่ที่สร้างรายได้ได้น้อย แต่ ปณท ต้องจัดให้มีหน่วยงานให้บริการ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการ
บริการในบางประเภทที่เป็นบริการเชิงสาธารณะถูกกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียม ตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 เช่น จดหมาย ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ ทำให้รายได้จากการให้บริการ ต่ำกว่าต้นทุนดำเนินงาน ก่อให้เกิดเป็นภาระต้นทุนที่แฝงอยู่ ส่งผลให้กำไรในภาพรวมของ ปณท ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากต้องชดเชยภาระการให้บริการเชิงสังคม
สำหรับบริการไปรษณีย์พื้นฐานในประเทศที่เข้าข่ายการให้บริการเชิงสังคม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้เงินอุดหนุน บริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2554 ปัจจุบันมี 6 บริการ ได้แก่ จดหมาย ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ พัสดุไปรษณีย์ ธนาณัติธรรมดา และเครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ มีข้อมูลดังนี้
สำหรับอัตราไปรษณียากรสำหรับจดหมาย ประเภทซอง จดหมาย ประเภทหีบห่อ ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ และพัสดุไปรษณีย์ ใหม่ ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากครม. มีดังนี้