ดูท่าส่อแววยืดเยื้อดีลแสนล้านควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC หลังคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสองฝ่ายไฟเขียวให้ควบรวมธุรกิจระหว่างกัน
ที่บอกว่าส่อแววยืดเยื้อ เป็นเพราะ คณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ชุดใหม่ทั้ง 5 คน ประกอบไปด้วย
ต้องการสร้างความกระจ่างในเรื่องนี้เพราะสังคมตั้งคำถาม? TRUE กับ DTAC ตกลงควบรวมธุรกิจระหว่างกันจะผูกขาดตลาดมือถือหรือไม่ หากเพิกเฉยไม่เคลื่อนไหวอะไรเลยจะถูกข้อกล่าวหามาตรา 157 ละเลยการปฏิบัติหน้าที่
ลงทะเบียนสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ออมสิน กู้ไม่เกิน 3 แสน เช็คเงื่อนไขเลย
นั้นจึงเป็นที่มาที่ บอร์ด กสทช. ลงความเห็นที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนงาน (Road map) กรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
คณะอนุกรรมการจำนวน 4 ชุด ทำหน้าที่เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เรื่องดังกล่าวได้แก่
เปิด 4 รายชื่อคณะอนุกรรมการฯ
สำหรับรายชื่อประธานคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ควบรวม “TRUE-DTAC” มีดังนี้
คณะอนุคณะอนุกรรมการฯ ด้านเศรษฐศาสตร์
คณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี
คณะอนุกรรมการฯ ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง
คณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมาย
เดินหน้าโฟกัสกรุ๊ปฯ
สำหรับการจัดประชุม Focus Group เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3 กลุ่ม มีดังนี้
โดยในวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 กสทช.จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัด (Focus Group) ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1 กลุ่มภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดย รองศาสตราจารย์ศุภัช ศุภชลาศัย กรรมการ กสทช. และในฐานะอนุกรรมการฯด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นประธานรับฟังโฟกัสกรุ๊ป
หลังจากสำนักงาน กสทช. เปิดฟังโฟกัสกรุ๊ปทั้ง 3 กลุ่มครบแล้ว ขั้นตอนลำดับต่อไป คือ
ต้องติดตามกันต่อไปว่า ดีลควบรวม "TRUE-DTAC" ที่ถูกตั้งคำถามผูกขาดธุรกิจ กสทช.จะสรุปผลไปในทิศทางใดน่าติดตามยิ่ง.