การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เนื้อหาส่วนใหญ่ของการอภิปราย พุ่งเป้าไปที่งบประมาณของกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะงบของกองทัพเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธและยุทโธปกรณ์ ซึ่งมีผู้ร่วมอภิปายในประเด็นนี้กันอย่างหลากหลาย
อย่างในรายของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส. กทม. เขตสายไหม พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า กระทรวงกลาโหม ได้ขอจัดสรรงบประมาณปี 2566 สูงเป็นอันดับ 4 และมากกว่ากระทรวงสาธารณสุข
โดยในปีนี้มีการซื้ออากาศยานไร้คนขับติดอาวุธของกองทัพเรือ (MALE UAV) จำนวนอย่างน้อย 3 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ที่ติดตั้งสำหรับปฏิบัติภารกิจ (Mission Payload) ติดตั้งระบบอาวุธ (Weapon System)
รวมทั้งสถานีควบคุมภาคพื้นดิน พร้อมระบบควบคุมและสื่อสาร (Ground Control) เป็นจำนวนถึง 4,070 ล้านบาท แต่ปัญหา คือ เงินจำนวนดังกล่าวซื้อได้แค่ เครื่องบิน แต่ไม่ซื้ออาวุธมาด้วย
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลุกขึ้นชี้แจงในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงกรณีการซื้อยุทโธปกรณ์ของหน่วยงานในกองทัพ ว่า กระทรวงกลาโหม ใช้งบอย่างจำกัด เพื่อให้เกิดความพร้อมในการเตรียมรับสถานการณ์ทุกรูปแบบ
โดยยืนยันว่า เรื่องกังกล่าวมีความจำเป็นต้องจัดหา และจัดซื้อตามความจำเป็น เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ด้านความมั่นคงขึ้น และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็ลดงบประมาณไปมาก แต่ขอให้เห็นใจว่าการดำเนินการต้องวางแผนล่วงหน้า เตรียมงบประมาณ ฝึก ใช้ และไม่สามารถรอให้ยุทโธปกรณ์หมดอายุถึงจัดหาได้ เพราะต้องใช้เวลา
“ฐานเศรษฐกิจ” ได้ตรวจสอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากเอกสารงบประมาณ ของสำนักงบประมาณ ซึ่งแสดงรายละเอียดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมได้รับการจัดสรรงบประมาณ 197,292 ล้านบาท หากแยกเป็นรายกองทัพ และดูเฉพาะงบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของยุทโธปกรณ์ พบข้อมูลดังต่อไปนี้
กองทัพบก
ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 96,573 ล้านบาท ลดลง 3,039 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.งบประมาณรายจ่ายบุคลากร 60,237 ล้านบาท
2.งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 35,677 ล้านบาท ประกอบด้วย
3.งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ 658 ล้านบาท
ทั้งนี้หากนับเฉพาะงบประมาณกองทัพบก ที่นำไปใช้ในเรื่องของยุทโธปกรณ์ ได้ถูกจัดสรรไว้ในแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ ภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ วงเงิน 19,365 ล้านบาท ในจำนวนนี้ คือ โครงการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ วงเงิน 5,128 ล้านบาท แบ่งเป็น
ส่วนงบยุทโธปกรณ์อีกก้อน บรรจุเอาไว้ในแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้โครงการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นงบในการจัดหายุทโธปกรณ์ 325 ล้านบาท
กองทัพเรือ
ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 40,322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 115 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.งบประมาณรายจ่ายบุคลากร 21,511 ล้านบาท
2.งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 17,931 ล้านบาท ประกอบด้วย
3.งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ 880 ล้านบาท แบ่งเป็น
ทั้งนี้หากนับเฉพาะงบประมาณกองทัพเรือ ที่นำไปใช้ในเรื่องของยุทโธปกรณ์ ได้ถูกจัดสรรไว้ในแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ ภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ วงเงิน 13,031 ล้านบาท ในจำนวนนี้ คือ โครงการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ วงเงิน 3,510 ล้านบาท แบ่งเป็น
ส่วนงบยุทโธปกรณ์อีกก้อน บรรจุเอาไว้ในแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโครงการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเป็นงบการจัดหายุทโธปกรณ์ 109 ล้านบาท
กองทัพอากาศ
ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 36,112 ล้านบาท ลดลง 1,681 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.งบประมาณรายจ่ายบุคลากร 14,167 ล้านบาท
2.งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 21,931 ล้านบาท ประกอบด้วย
3.งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ 14 ล้านบาท แบ่งเป็น
ทั้งนี้หากนับเฉพาะงบประมาณกองทัพอากาศ ที่นำไปใช้ในเรื่องของยุทโธปกรณ์ ได้ถูกจัดสรรไวในแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ ภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ วงเงิน 18,008 ล้านบาท ในจำนวนนี้ คือ โครงการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ วงเงิน 3,287 ล้านบาท
สรุป หากรวมงบประมาณปี 2566 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของยุทโธปกรณ์ทั้ง 3 กองทัพ พบว่า มีวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรรวมกันทั้งหมด 12,359 ล้านบาท แบ่งออกเป็นดังนี้