เปิดสถิติบริษัทจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรกปี65

22 มิ.ย. 2565 | 17:30 น.
อัปเดตล่าสุด :22 มิ.ย. 2565 | 17:58 น.

ยอดจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรก ลดลง 4% จากสงครามระหว่างรัสเซียกระทบราคาน้ำมันทำต้นทุนผู้ประกอบการและราคาสินค้าสูงขึ้น กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงตามเงินเฟ้อ ส่งผลให้ธุรกิจชะลอการลงทุน คาดทั้งปียอดจดทะเบียนน่าอยู่ที่ประมาณ 70,000 – 75,000 ราย

สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และมาตรการคว่ำบาตรที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิต การค้า และการขนส่ง เป็นผลให้ราคาสินค้าและบริการในประเทศปรับสูงขึ้น รวมทั้งส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับหลายประเทศที่ประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน

เปิดสถิติบริษัทจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรกปี65

โดยราคาปัจจัยการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นส่วนหนึ่งมาจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น  จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น  

 

 

 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้รวบรวมข้อมูลยอดจดทะเบียนไตรมาสแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การขอจัดตั้งธุรกิจใหม่ปี2565 พบว่า ไตรมาสแรก มีผู้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนธุรกิจใหม่ 22,347ราย มูลค่าลงทุน 74,398ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผู้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนธุรกิจที่23,389ราย มูลค่าเงินลงทุน70,075ล้านบาท

เปิดสถิติบริษัทจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรกปี65

5เดือน (ม.ค.-พ.ค.)พบว่ามียอดขอจดทะเบียน33,640 ราย เงินลงทุน 256,860 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผู้ขอยื่นจดทะเบียนธุรกิจที่34,929ราย มูลค่าลงทุน112,286ล้านบาท

เปิดสถิติบริษัทจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรกปี65

เช่นเดียวกับการขอจดทะเบียนเลิกกิจการพบว่าไตรมาสแรกของปีนี้ มียอดขอเลิกกิจการเพิ่มขึ้นที่ 2,594 รายเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันที่มีเพียง2,478ราย แต่มูลค่าลงทุนปีนี้กลับเพิ่มขึ้นเป็น 40,472ล้านบาท จากช่วงเดียวกัน  และ 5 เดือน(ม.ค.-พ.ค.)มียอดขอเลิกกิจการเพิ่มขึ้น 4,546 ราย มูลค่าลงทุน 53,344 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี3,882ราย และมูลค่าลงทุน27,313ล้านบาท

เปิดสถิติบริษัทจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรกปี65

สำหรับประเภทธุรกิจที่มีการจัดตั้งสูงที่สุดในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 (ม.ค. – มี.ค.)  แบ่งเป็น

  • ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 2,362 ราย คิดเป็น 10% ของจำนวนธุรกิจจัดตั้งทั้งหมด 
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,048 ราย คิดเป็น 5% ของจำนวนธุรกิจจัดตั้งทั้งหมด 
  • ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 696 ราย คิดเป็น 3% ของจำนวนธุรกิจจัดตั้งทั้งหมด

และในใน 5 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค. - พ.ค.)พบว่า

  • ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 3,380 ราย ราย คิดเป็น 10% ของจำนวนธุรกิจจัดตั้งทั้งหมด 
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,733 ราย คิดเป็น 5% ของจำนวนธุรกิจจัดตั้งทั้งหมด
  • ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 1,112 ราย คิดเป็น 3% ของจำนวนธุรกิจจัดตั้งทั้งหมด

เปิดสถิติบริษัทจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรกปี65

ส่วนธุรกิจที่มีเลิกกิจการสูงที่สุดในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 (ม.ค. – มี.ค.)  แบ่งเป็น

  • ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 241 ราย คิดเป็น 9% ของจำนวนธุรกิจที่จดเลิกทั้งหมด 
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 125 ราย คิดเป็น 5% ของจำนวนธุรกิจที่จดเลิกทั้งหมด 
  • ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 79 ราย คิดเป็น 3% ของจำนวนธุรกิจที่จดเลิกทั้งหมด 

  5 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค. - พ.ค.)พบว่า

  • ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 477 ราย คิดเป็น 10% ของจำนวนธุรกิจที่จดเลิกทั้งหมด 
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 212 ราย คิดเป็น 5% ของจำนวนธุรกิจที่จดเลิกทั้งหมด 
  • ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 142 ราย คิดเป็น 3% ของจำนวนธุรกิจที่จดเลิกทั้งหมด

เปิดสถิติบริษัทจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรกปี65

โดยธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุนซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่มีทุนดังนี้

  • ทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 494,237 ราย     
  • ทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท  จำนวน 247,258 ราย 
  • ทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 74,819 ราย
  • ทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 16,810 ราย 

เปิดสถิติบริษัทจดทะเบียนใหม่ไตรมาสแรกปี65

อย่างไรก็ตามภาพรวมการจัดตั้งธุรกิจในไตรมาส 1 ปี 2565 มีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจลดลงในไตรมาสที่ 1/2565 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (YoY) 4% เนื่องจาก สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงตามเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ได้

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศและเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาด Covid-19 สายพันธ์ Omicron มีความรุนแรงไม่สูงมากนัก ซึ่งมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี ดังนั้นกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคาดการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 อยู่ประมาณที่ 40,000 – 42,000 ราย และตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 70,000 – 75,000 ราย